งานวิจัยใหม่ เผย โลกที่ร้อนขึ้นทำให้คนเสี่ยงที่จะโดนงูพิษกัดมากขึ้น 6% ต่อ 1°C (องศาเซลเซียส) ไม่เพียงแค่นั้นการขยายตัวของมนุษย์ก็ทำให้คนกับงูเจอกันบ่อยขึ้น สร้างความกังวลให้นักวิทยาศาสตร์ว่าจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก
โลกร้อนได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนเช่นกัน ล่าสุดมีงานวิจัยใหม่จาก Noah Scovronick ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ได้เผยผลงานวิจัย พบว่า โลกที่ร้อนขึ้นทำให้คนเสี่ยงที่จะโดนงูพิษกัดมากขึ้น 6% ต่อ 1°C (องศาเซลเซียส) ไม่เพียงแค่นั้นการขยายตัวของมนุษย์ก็ทำให้คนกับงูเจอกันบ่อยขึ้น สร้างความกังวลให้นักวิทยาศาสตร์ว่าจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก
โดยองค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่าทุกปีจะมีรายงานงูกัดจำนวน 5.4 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งครึ่งนึงเป็นงูพิษ และในจำนวนนั้นก็มีผู้เสียชีวิตประมาณ 138,000 คน ทีมวิจัยประเมินว่าตัวเลขเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเพราะอากาศที่ร้อนขึ้นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Emory ประเทศสหรัฐฯ ได้ศึกษาผู้ป่วยที่ถูกงูกัดมากกว่า 5,000 คนในโรงพยาบาลจอร์เจีย จากนั้นเปรียบเทียบกับอุณหภูมิ ความกดอากาศ และความชื้นในวันที่ถูกกัด แล้วเปรียบเทียบกับอุณหภูมิวันอื่นๆ ในเดือนเดียวกันหรือสัปดาห์เดียวกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แคมเปญรับวาเลนไทน์ สวนสัตว์ซิดนีย์ชวนนำชื่อแฟนเก่าตั้งชื่อ “งูพิษ”
เลี้ยงงูอะไรดี! 5 อันดับงูนิยมเลี้ยง ส่วนงูจงอาง สัตว์คุ้มครอง ห้ามครอบครอง
ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้ พวกเขาพบว่าความเสี่ยงการถูกงูกัดเพิ่มขึ้น 6% ต่อทุกๆ 1°C ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกินความคาดหมายไปพอสมควร อย่างไรก็ตามนักวิจัย ยังเผยอีกว่า โอกาสที่งูจะกัดเพิ่มขึ้น6% ต่อองศาเซลเซียสเป็นผลที่รุนแรงและแน่นอนว่าสูงกว่าที่เรามักจะเห็นจากการศึกษาด้านสุขภาพประเภทอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับความร้อน
“อย่างที่เราทราบกันดีว่าวิถีชีวิตของงูหลายสายพันธุ์จะเข้าจำศีลเมื่อถึงฤดูหนาว (โดยเฉพาะในประเทศที่หิมะตก) แต่เมื่อโลกร้อนขึ้น ฤดูหนาวก็สั้นลงหรือไม่หนาวเท่าปกติ งูก็ออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ผลลัพธ์นี้จึงเป็นสิ่งที่คาดเดาไว้ได้ตั้งแต่แรก แต่เปอร์เซ็นค่อนข้างสูง มันจึงเป็นสิ่งที่น่ากังวล งูกัดเป็นปัญหาที่สุขภาพที่ก่อให้เกิดภาระด้านสุขภาพที่ใหญ่อย่างน่าประหลาดใจทั่วโลก และเป็นที่รู้กันดีว่ายังขาดการศึกษา ” Scovronick กล่าว
นอกจากนี้ Noah Scovronick บอกอีกว่า อาจเป็นไปได้ที่งูก็ทำตามสิ่งที่มันทำมาตลอดก็คือใช้ชีวิตในฤดูร้อน แต่อากาศที่ร้อนขึ้นก็ทำให้มันมีโอกาสเจอคนมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมคนที่ออกไปข้างนอกมากขึ้นในวันที่อบอุ่นขึ้น รวมถึงการขยายตัวของเมืองที่อาจพาดผ่านแหล่งที่อยู่อาศัยของงูอยู่แล้ว และทีมวิจัย ยังเน้นย้ำว่า ต้องตระหนักถึงปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะถูกงูกัดให้มากขึ้นและความรู้กับคนทั่วไปว่างูชอบที่อยู่แบบไหน
ด้าน Lawrence Wilson นักสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัย Emory กล่าวว่า งูกับคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ตราบใดที่เราเคารพและเข้าใจที่อยู่อาศัยรวมถึงความต้องการของพวกมัน
ที่มา
-https://agupubs.onlinelibrary.wiley.com/.../2022GH000781
-https://www.sciencealert.com/your-chances-of-getting...
-https://www.iflscience.com/why-your-chances-of-getting...
-https://news.emory.edu/.../hs_heat_and_snakes.../story.html