svasdssvasds

มัดรวมผลกระทบ “เอลนีโญ” กระทบเศรษฐกิจไทย เพียงใด ?

มัดรวมผลกระทบ “เอลนีโญ”  กระทบเศรษฐกิจไทย เพียงใด ?

ปรากฏการณ์เอลนีโญ ปี2566 มีโอกาสรุนแรงทำให้เกิดภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ จึงทำให้ภาคธุรกิจ และประชาชนเกิดความวิตกกังวล วันนี้จะพามาผลกระทบ “เอลนีโญ” ว่าจะกระทบเศรษฐกิจไทย มากน้อยเพียงใด ? และแนวทางการรับมือ

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะมีผลต่อชีวิตมวลมนุษยชาติ และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะปรากฏการณ์เอลนีโญ หลายพื้นที่ทั่วโลกกับประสบปัญหานี้อยู่ รวมถึงประเทศไทยด้วยที่สถานการณ์เอลนีโญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยก่อนหน้านี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าแม้ว่าเมื่อช่วงปี2564 -2565ประเทศไทยเจอลานีญา ทั้งน้ำท่วม ฝนเยอะ ในหลายพื้นที่กระทบต่อภาคการเกษตร กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน แต่…มันกำลังจะผ่านไป และเข้าสู่เจอปรากฏการณ์เอลนีโญ ภัยแล้งมาเยือนไทยตั้งแต่ปี 2566 -2568 นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องทำการบ้านอย่างหนักหาทางรับมือภัยแล้ง

ขณะที่รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Witsanu Attavanich เกี่ยวกับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งตอนนี้ได้ยกระดับเป็น El Niño Advisory แล้ว ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุ 90% ส่งผลลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 สัญญาณชัด ต.ค. ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 ส่งผลไทยอากาศร้อนและแล้งกว่าปกติ

ด้านดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ถึงทิศทางและการการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับเมืองเอลนีโญในประเทศไทย รวมถึงแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าว เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในฤดูฝน และมาตรการรับมือฝนทิ้งช่วง ได้แก่

1.เตรียมหน่วยงานต่างๆ เตรียมพร้อมในเรื่องเครื่องจักรและเครื่องมือในการที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่มีโอกาสฝนทิ้งช่วง

2.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ก็ได้เตรียมความพร้อม โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ส่วนในพื้นที่เกษตร กรมชลประทาน ไม่มีปัญหา เพราะน้ำในเขื่อนปีที่ผ่านมาภาคเกษตรเก็บกักไว้ เพราะฉะนั้นในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงกรมชลประทานก็สามารถที่จะเอาน้ำมาช่วยเหลือในพื้นที่การเกษตรได้อยู่แล้ว

แน่นอนว่าเอลนีโญ คือ ปัจจัยลบที่จะฉุดเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ และยังกระทบต่อพี่น้องประชาชนอีกด้วย วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปส่องดูค่าดการณ์จากสำนักต่างๆ ว่าแต่ละที่จะมีมุมมองเกี่ยวกับเอลนีโญ และประเมินว่าอย่างไรบ้าง ?

มัดรวมผลกระทบ “เอลนีโญ”  กระทบเศรษฐกิจไทย เพียงใด ?

  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มองว่า เป็นเรื่องที่มีผลกระทบในระดับสูงในภาวะที่ทั่วโลกเผชิญกับปัญหา เอลนีโญในปีนี้ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ 36,000 ล้านบาท
  • สภาพัฒน์ฯ ชี้ ภัยแล้งฉุดเศรษฐกิจไทยปี’66 ลากยาวถึงปี’67
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ ชี้แล้งลากยาว 3 - 5 ปี
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ ผลผลิตข้าวนาปีลดลง 4.1-6% ฉุดส่งออกข้าววืดเป้า 7.5-8 ล้านตัน
  • กระทรวงอุตสาหกรรม แนะ 70,000 โรงงานทั่วประเทศ รับมือน้ำแล้ง
  • รู้หรือไม่ ? การเพาะปลูกของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ชลประทาน เพียง 26% ส่วนอีก 74% อยู่นอกพื้นที่ชลประทาน
related