svasdssvasds

ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. 12 มี.ค. 66 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังเกินมาตรฐาน 41 จังหวัด

ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. 12 มี.ค. 66 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังเกินมาตรฐาน 41 จังหวัด

ขอให้ปอดได้พักบ้าง ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯวันนี้มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับสีส้ม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและยังเกินมาตรฐานอีก 41 จังหวัด โปรดรักษาสุขภาพ

วันนี้ (12 มี.ค. 2566) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่เวลา 05.00-07.00 น. โดยตรวจวัดได้ 41-67 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 53.1 มคก./ลบ.ม. ดังนั้นค่า PM2.5 วันนี้มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่

ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. 12 มี.ค. 66 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังเกินมาตรฐาน 41 จังหวัด มีพื้นที่ที่พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (เกินมาตรฐาน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 7 พื้นที่คือ

  1. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ พบภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศยังคงเกินมาตรฐานหลายจังหวัด ได้แก่

  1. กรุงเทพฯ
  2. เชียงราย
  3. เชียงใหม่
  4. น่าน
  5. แม่ฮ่องสอน
  6. พะเยา
  7. ลำพูน
  8. ลำปาง
  9. แพร่
  10. อุตรดิตถ์
  11. สุโขทัย
  12. ตาก
  13. พิษณุโลก
  14. กำแพงเพชร
  15. พิจิตร
  16. เพชรบูรณ์
  17. นครสวรรค์
  18. อุทัยธานี
  19. สิงห์บุรี
  20. ลพบุรี
  21. สระบุรี
  22. อ่างทอง
  23. พระนครศรีอยุธยา
  24. ราชบุรี
  25. ปราจีนบุรี
  26. สระแก้ว
  27. บึงกาฬ
  28. หนองคาย
  29. เลย
  30. อุดรธานี
  31. นครพนม
  32. หนองบัวลำภู
  33. มุกดาหาร
  34. ขอนแก่น
  35. กาฬสินธุ์
  36. ร้อยเอ็ด
  37. ชัยภูมิ
  38. อุบลราชธานี
  39. ศรีสะเกษ
  40. นครราชสีมา
  41. บุรีรัมย์

ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. 12 มี.ค. 66 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังเกินมาตรฐาน 41 จังหวัด

ค่าเฉลี่ยภูมิภาค

  • ภาคเหนือเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 70 - 182 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 41 - 125 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 29 - 68 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 2 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 29 - 56 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 13 - 31 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 30 - 66 มคก./ลบ.ม.

ปัจจัยเกี่ยวข้องด้านสภาพอากาศ

กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ในช่วงวันที่ 12-19 มี.ค. 2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง แต่อาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ ช่วงนี้มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง

ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 12 - 14 มี.ค.66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ และในช่วงวันที่ 13-14 มี.ค. 2566 อาจมีฝนในบางพื้นที่ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นเกิดการปะทะกันกับมวลอากาศร้อนทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ ควรระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ควรระวังโรคลมแดดและวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่

ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. 12 มี.ค. 66 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังเกินมาตรฐาน 41 จังหวัด อย่างไรก็ตาม วันที่ 12 มี.ค.2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ โดย หลังวันที่ 13 มี.ค.2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามช่วงระหว่างวันที่ 15-18 มี.ค. 66 เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้

คำแนะนำด้านสุขภาพ

ขอให้ประชาชนทั่วไปเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันจนเองหากมีความจำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

related