เหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลกที่มีความเสียหายหนักหน่วง ตัวเลขผู้เสียชีวิตหนักหมื่น อาคารบ้านเรือนพังยับ ทำไมเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ถึงสร้างความเสียหายอย่างมาก และจะมีผลกระทบถึงไทยหรือไม่? เรามาไขข้อข้องใจกัน
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย มีรายงานออกมาว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตขยับขึ้นสูงไปมากกว่า 23,000 คนแล้ว และความเสียหายของอาคารบ้านเรือนเรียกได้ว่าพังยับเยิน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเหตุการณ์ครั้งนี้จึงเสียหายหนักมาก? ซึ่งได้มีการประเมินเบื้องต้นโดยมหาวิทยาลัย Bogazici ของประเทศตรุกีพบว่ากว่า 40 % ของอาคารในเมือง Kahramanmaras เกิดความเสียหายในระดับปานกลางถึงยับเยิน และมีบทสรุปเบื้องต้น ดังนี้
1) ความรุนแรงระดับ 9-10 ตามมาตรา Mercalli scale
2) เหตุการณ์เกิดขึ้นเวลาประมาณ 4 am ผู้คนกำลังหลับนอนไม่มีโอกาสวิ่งหนี
3) จุดกำเนิดแผ่นดินไหว และรอยแตกประมาณ 50 x 100 km2 ครอบคลุม พื้นที่ประชากรหนาแน่น
4) ขาดความตระหนัก เนื่องจากไม่เคยเกิดเหตุการณ์ในรอบเกือบ 200 ปี
5) มาตรฐานการก่อสร้าง และ Code of practice มีปัญหา หรือไม่อย่างไร ?และ 5) สภาพอากาศหนาวเย็น -5oC ถึง -14oC
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ตายทะลุ 23,000 ถ้าตึกได้มาตรฐาน คงไม่พังยับขนาดนี้
อ.เสรีเผย ในอนาคตพายุไต้ฝุ่นมีโอกาสกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นได้ง่าย
"แผ่นดินไหวตุรกี" ไทยเตรียมส่งทีมกู้ภัย-ทีมแพทย์ ระดมกำลังช่วยเหลือ
จากตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รายงานมีมากกว่า 20,000 คน ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้น และต้องไม่ลืมว่าพื้นที่แห่งนี้ บริเวณรอยเลื่อน Anatolian ฝั่งตะวันออกเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 7.4M เมื่อปี 1822 (ประมาณ 200 ปีมาแล้ว) และก็มีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 คน ในขณะที่ปี 1999 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6M ในรอยเลื่อน Anatolian เหนือ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 17,000 คน การบังคับใช้กฎหมาย และมาตรฐานการก่อสร้างจึงเป็นประเด็นสำคัญมาก
เหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ครั้งนี้มีเกิดคำถามมากมายสำหรับคนไทยว่าเหตุการณ์แบบนี้มีโอกาสจะเกิดกับประเทศไทยในอนาคตได้หรือไม่?
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เผยว่าได้หารือกับ ศ.ปัญญา จารุศิริ และขออนุญาตนำเอางานวิจัยมาเปิดเผย โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต 50 ปี ที่ระดับความรุนแรง (ตามมาตรา Mercalli) ตั้งแต่ระดับ 4 (ผู้คนรู้สึกได้) ไปจนถึงระดับ 7 (ฝาห้องแตกร้าว เพดานร่วง) ซึ่งเหตุการณ์แผ่นดินไหวตรุกีครั้งนี้อยู่ในระดับ 9-10 (อาคารบ้านเรือนพัง แผ่นดินแตกแยก) ดังนั้นโอกาสที่บ้านเราจะเจอแบบตรุกีจึงมีน้อยมาก (ไม่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในประเทศ) แต่เรื่องของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณรอยเลื่อนนอกประเทศ ซึ่งทำให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาเหมือนกับกรณีปี 2547 ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อคนไทย จึงต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ที่มา : Facebook รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์