svasdssvasds

เปิดตัวโครงการ SERVIR-Southeast Asia เตือนภัยพิบัติล่วงหน้าเร็วขึ้น

เปิดตัวโครงการ SERVIR-Southeast Asia เตือนภัยพิบัติล่วงหน้าเร็วขึ้น

ไทย ร่วมกับสถานทูตสหรัฐ NASA,GISTDA และ ADPC เปิดตัวโครงการ SERVIR-Southeast Asia ช่วยประเทศในภูมิภาคอาเซียนใช้เทคโนโลยีเข้าถึงการรับมือกับภัยพิบัติได้เร็วและมีคุณภาพ

หลังจากที่ทั่วโลกเริ่มประกาศสงครามกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งหากมองการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด มันกำลังนำมนุษยชาติไปสู่จุดที่กำลังเลวร้ายที่สุดแล้ว แต่เรายังไม่อาจยอมแพ้ และต้องเริ่มลงมือทำเดี๋ยวนี้ ตามข้อตกลงของการประชุม COP27 ว่าทั่วโลกจะต้องร่วมมือกันและทำให้ผู้คนสามารถรับมือหรือปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศให้ได้ หรือที่เรียกว่า (Adaptation)

ประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าในแถมอาเซียนบ้านเรา ถือเป็นอีกแหล่งตระกร้าข้าวและห้องครัวใหญ่ของโลกในการส่งออกวัตถุดิบและแรงงาน แต่ทว่าเราเองก็กำลังเผชิญหน้ากับภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น หลายประเทศจึงคาดหวังว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ และสิ่งนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว

(24 มกราคม 2566) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค (Robert F. Godec) พร้อมด้วย ดร.คาเรน เอ็ม. เซนต์เจอร์เมน (Karen M. St. Germain) ผู้อำนวยการภาควิทยาศาสตร์พื้นพิภพ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือนาซา ร่วมกันเป็นประธานเปิดตัวโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERVIR-Southeast Asia)

(ซ้าย) ฮานส์ กุทแมน (ADPC), โรเบิร์ต เอฟ โกเดค (เอกอัครราชทูตสหรัฐ), ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (ผู้อำนวยการ GISTDA) และดร.คาเรน เซนท์ เจอร์แมน (ตัวแทนจาก NASA) (ขวา) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การนาซาเพื่อช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ ในการปรับตัวและรับมือกับปัญหาสภาพอากาศข้ามพรมแดนและระดับภูมิภาค รวมถึงลดผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงการ SERVIR-Southeast Asia คืออะไร?

โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็น 1 ใน 5 ศูนย์ระดับโลก ภายใต้โครงการใหญ่ของเซอร์เวียร์ โดยโครงการนี้ต่อยอดมาจากผลสำเร็จของโครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong) ที่ได้ริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 จนมาถึงปี 2022 ก็เข้าสู่ปีที่ 8 แล้วสำหรับความร่วมมืออันเหนียวแน่น

ผลสำเร็จของโครงการเซอร์เวียร์แม่โขง

  • 4 การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
  • 21 เว็บแอพและแอพมือถือ
  • 123,000 ครั้งของยอดการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เซอร์เวียร์แม่โขง
  • 115 สถาบันที่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการ
  • 1,500 ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรม

งบจัดสรรเงินทุนสำหรับพัฒนาโครงการนี้เพิ่มเติมอยู่ที่ 500,000 เหรียญสหรัฐ ตลอดจนมีการส่งผลให้ใช้ 4 นโยบายเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 250 ล้านคน ในการรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น

หน้าที่ของโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

SERVIR-Southeast Asia ใช้ผลประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างองค์กร โดยนำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคของ USAID, แผนยุทธศาสตร์ระดับโลกของเซอร์เวียร์, ยุทธศาสตร์ของ ADPC และเทคโนโลยีดาวเทียมของนาซา เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในระดับภูมิภาคระยะยาว อาทิ

  1. ใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีดาวเทียมสาธารณะเพื่อสนับสนุนองค์กรระดับภูมิภาค รัฐบาล และชุมชน
  2. เพื่อให้กลุ่มคนในภูมิภาคนี้สามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ
  3. เตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภัยพิบัติ ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ดินและมลพิษทางอากาศ

เช่น การรับมือกับภัยแล้ง โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมวิเคราะห์และส่งต่อข้อมูลเพื่อนำไปวางกลยุทธ์ในการรับมือภัยพิบัติต่อไป Cr. Pixarbay สิ่งที่หวังว่าจะเกิดผลจากโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แก้ปัญหาด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร

  • การพยากรณ์ภัยแล้งและการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับเกษตรกรและชุมชน โดยจะมีการแจ้งให้เกษตรกรและหน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้งและรักษาผลผลิตทางการเกษตรได้ทันตามคำแนะนำของโครงการ

แหล่งน้ำและภัยน้ำท่วม

  • ระบบพยากรณ์น้ำท่วมเสริมด้วยข้อมูลจากดาวเทียม โดยจะมีการขยายระยะเวลาการเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้าให้นานขึ้นเพื่อช่วยให้ชุมชนและเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมล่วงหน้าได้

มลพิษทางอากาศ

  • การตรวจสอบคุณภาพอากาศและไฟไหม้โดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมที่จะถูกนำมาใช้ในไทยมากขึ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 2.4 ล้านคนในแต่ละปีจากมลพิษทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก 2019)

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ

  • จะมีการติดตามการสูญเสียพื้นที่ป่าและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางชีวกายภาพโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับประเทศกัมพูชา โดยจะมีการจัดอุปกรณ์ให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและองค์กรอนุรักษ์ด้วยข้อมูลตามเวลาจริงสำหรับการวางแผนการลาดตระเวนและมาตรการอนุรักษ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้กำลังจะขยายลงไปตามประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

“โครงการใหม่นี้จะขยายขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ของโครงการเซอร์เวียร์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนและธุรกิจในไทยและอาเซียน ไม่เพียงแต่สามารถปรับตัวเข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ แต่สามารถเติบโตท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้” เอกอัครราชทูตโกเดค กล่าว

related