CAL Forum รุ่น 2 ระดมสมองรัฐ-เอกชนต่อสู้โลกร้อน เมื่อวิกฤตโลกร้อนทำให้มนุษย์อยู่รอดยากในอนาคต ถึงเวลาที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องมาช่วยกันหาทางออกให้โลกรอดต่อไปได้
(20 มกราคม 2566) เป็นวันเปิดเวทีผู้นำ Climate Action Leaders Forum 2 หรือ CAL Forum รุ่นที่ 2 นำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก ณ ห้องบอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ
เป็นครั้งที่ 2 แล้วของการที่ภาครัฐและเอกชนออกมาร่วมมือกันหาแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ร่วมกัน ตามความถนัดของแต่ละสาขา
ในวันที่โลกเริ่มไปต่อได้ยาก จากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกจึงต้องยกระดับมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทุกวิถีทางเท่าที่ทำได้อย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2065
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จะเพิ่มหัวชาร์จ EV 7,000 หัวให้ได้ภายในปี 2030 เปิดวิสัยทัศน์ CEO คนใหม่ OR
พะยูนฟลอริดาตายเกลื่อน เพราะขาดแคลนอาหาร หญ้าทะเลลดฮวบ ผลพวงธรรมชาติรวน
เกรตา ธันเบิร์ก ลั่น การปกป้องสภาพอากาศ ไม่ใช่อาชญากรรม หลังถูกจับในเยอรมนี
เตรียมลงทะเบียนแพลตฟอร์มซื้อขายคาร์บอนเครดิต FTIX 16 ม.ค. นี้
ข้อดีประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ ติดโซลาร์เซลล์ ลดค่าไฟในบ้าน จริงไหม
วิกฤตเหล่านี้ได้นำไปสู่ความร่วมมือของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ริเริ่มโครงการ Cliamte Action Leaders Forum หรือ CAL Forum ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักได้แก่
ด้วยเป้าหมายนี้ จึงก่อเกิดเวที CAL ขึ้น เพื่อสร้างเวทีระดับผู้นำรูปแบบใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ประสบการณ์ การมีส่วนร่วมลดโลกร้อนตลอดจนสร้างเวทีสื่อสาร เพื่อนำไปสู่บทบาทการลดก๊าซเรือนกระจก สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Greenhouse Gas Emission ของประเทศต่อไป
โดยในช่วงต้น ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาเปิดงานในประเด็นความเชื่อโยงของการจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยดร.สุเมธได้กล่าวว่า
“การพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่พูดกี่ครั้งมันก็ยังเหมือนเดิม หากไม่ช่วยกันลงมือทำ นั้นจึงเป็นเหตุให้ต้องถามว่า เมื่อไหร่จะลงมือทำกันสักที ตอนนี้มนุษย์โลกมีประชากรแตะ 8,000 ล้านคนแล้ว ยิ่งประชากรมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ใช้ทรัพยากรเยอะไปเท่านั้น มนุษย์ทุกคนถลุงโลก ตั้งแต่ลืมตาดูโลกไปจนถึงตายเราก็ทำร้ายโลก ตลอดช่วงระยะเวลาการเติบโตเหล่านั้น เราล้วนใช้ทรัพยากร”
นอกจากนี้ยังเสริมอีกว่า “เราใช้เสื้อผ้า เรากิน เราทิ้งขยะ ทุกอย่างล้วนเป็นการถลุงโลก ดังนั้น ผมของให้ใช้ความเห็นแก่ตัวนำทาง ไม่อย่างนั้นเราไปกันต่อไม่ได้ เราต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้”