svasdssvasds

ข่าวดี! ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัว พิธีสารมอนทรีออลกำลังไปได้สวย

ข่าวดี! ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัว พิธีสารมอนทรีออลกำลังไปได้สวย

เรากำลังเดินหน้าไปถูกทาง สำหรับการลดรูโหว่ของชั้นโอโซนโลก UN ประกาศความสำเร็จของพิธีสารมอนทรีออล ว่าชั้นโอโซนของโลกกำลังฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องช้า ๆ

เป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้วที่เราค้นพบชั้นโอโซนของโลก อีกทั้งพบว่ามีความเสียหายและผลกระทบที่น่าเป็นห่วงตามมาจนต้องมีพิธีสารมอนทรีออลเข้ามากำกับควบคุมดูแลการปล่อยสารอันตรายจากพื้นโลกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างเข้มงวด และตอนนี้เราก็ใกล้ประสบความสำเร็จแล้ว

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติได้ประกาศผลสำเร็จ ว่าชั้นโอโซนของโลกกำลังเป็นไปตามแผนการฟื้นฟูและกำลังฟื้นตัวในระดับดีขึ้นเรื่อย ๆ รูโหว่มีขนาดเล็กลง ยกเว้นบริเวณขั้วโลกเหนือแอนตาร์กติกที่ยังคงมีรูโหว่อยู่

รายงานที่จะเผยแพร่ทุก ๆ 4 ปี เกี่ยวกับความคืบหน้าพิธีสารมอนทรีออล และในปีนี้คณะกรรมการได้ยืนยันการเลิกใช้สารต้องห้ามที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้แล้วเกือบร้อยละ 99

ข่าวดี ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัว พิธีสารมอนทรีอลลกำลังไปได้สวย

การค้นพบชั้นโอโซน

การค้นพบโพรงชั้นในโอโซนได้รับการประกาศครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ 3 คนจาก British Antarctic Survey ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2528 (1985) แต่หากย้อนกลับไปไกลกว่านั้นสักนิดในปี 1982 มีรายงานนักวิทยาศาสตร์วค้นพบรูโหว่ขนาดใหญ่ในชั้นโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์กติก บริเวณขั้วโลกใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิธีสารมอนทรีออล

ในเวลาต่อมาจึงมีการศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อรูโหว่นั้นเป็นผลมาจากคลอรีนใน CFC จึงทำให้เวลาต่อมาต้องมีการลงนามในพิธีสารมอนทรีออลที่ได้รับการลงนามในเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 (1987) เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระดับพหุภาคีที่สำคัญในการควบคุมการบริโภคและการผลิตสารเคมีเกือบ 100 ชนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นสารที่ทำลายชั้นโอโซน (Ozone Depleting Substances หรือ ODS) ด้วย

ไม่เพียงแค่ผลกระทบจากสารจะทำให้ชั้นโอโซนเป็นรูโหว่และเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่ยังส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของโลกด้วย ในปีพ.ศ. 2559 ข้อตกลงเพิ่มเติมของพิธีสารมอนทรีออล มีการกำหนดให้ลดชั้นตอนการผลิตและการบริโภคไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) บางชนิด ที่มักใช้สำหรับการปรับอากาศและเป็นสารหล่อเย็น มีศักยภาพทำให้เกิดภาวะโลกร้อนรุนแรงหลายพันเท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แนวโน้มข้างหน้า

ตามรายงานของ Panel หากนโยบายที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบันยังคงเดินต่อไปเรื่อย ๆ แบบนี้คาดว่าเราจะสามารถกู้คืนชั้นโอโซนให้เป็นเหมือนก่อนหน้าในปี 1980 ได้ภายในปี 2040 ส่วนแถบแอนอาร์กติก คาดว่าจะฟื้นตัวได้ภายในปี 2066

เม็ก เซกิ (Meg Seki) เลขาธิการบริหารของสำนักเลขาธิการโอโซนของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า

"ผลที่พิธีสารมอลทรีออลได้มีส่วนต่อการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา โพลโตคอล ได้กลายเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง การประเมินและการทบทวนโดยคณะกรรมการทางวิทยาศาสตร์ยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในงานพิธีสารที่ช่วยให้นโยบายและการตัดสินใจเป็นไปได้ด้วยดี"

การเปลี่ยนแปลงของรูโหว่แอนตาร์กติก ในช่วงปีพ.ศ. 2562 -2564 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม การรั่วไหลของโอโซนแอนตาร์กติกมีพัฒนาการอย่างช้า ๆ ทั้งในด้านของพื้นที่และความลึก

ข่าวดี ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัว พิธีสารมอนทรีอลลกำลังไปได้สวย คำเตือน

แม้ว่านี่จะเป็นข่าวดีรับปีใหม่ แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังและเข้มงวดต่อไป และทั่วโลกจะต้องพยายามลดภาวะโลกร้อนโดยไม่เพิ่มการสะท้อนแสงแดดกลับขึ้นไปให้มากที่สุด เพราะเป็นครั้งแรกอีกเหมือนกันที่เราเพิ่งตรวจสอบและค้นพบว่า การเติมละอองลอยเข้าไปในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์โดยเจตนา หรือที่เรียกว่าการฉีดละอองในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (SAI) นั้นอาจมีส่วนทำให้เกิดรูโหว่ของชั้นโอโซนได้

เราจะช่วยปิดรูโหว่ของชั้นโอโซนได้อย่างไร?

  • ประหยัดไฟฟ้า
  • ปลูกต้นไม้ เพิ่มออกซิเจน
  • ลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  • เดินทางรถสาธารณะมากขึ้น
  • ลดการปล่อยของเสีย ทั้งทางน้ำ - อากาศ
  • เลิกใช้เรื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสาร CFCs  อาทิ สารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือสารที่อยู่ในกระป๋องสเปรย์ เป็นต้น

ที่มาข้อมูล

UN News 

UN Environment programme

วิกิพีเดีย

related