16 กันยายน วันรักโลกรักษ์ รักษ์โอโซน ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของชั้นบรรยากาศโอโซน และต่อจากนี้ไป ทั่วโลกควรตระหนัก และ ลดสารที่ก่อให้เกิดมลพิษสะสมในชั้นบรรยากาศ
ประเด็นสิ่งแวดล้อมนับเป็นเรื่องใหญ่ที่โลกกำลังให้ความสนใจ และวันที่ 16 กันยายน ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันโอโซนโลก (World Ozone Day) โดยที่มาที่ไปของเรื่้องนี้ คือ เกิดมาจากข้อตกลงของอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการใช้สารทำลายชั้นโอโซน ในมีนาคม ปี 1985 และลงนามในพิธีสารมอลทรีออล แคนาดา ในปี 1987โดยมุ่งสาระสำคัญไปที่ข้อตกลงระหว่างประเทศในการปกป้อง
และการกำหนดให้ 16 ก.ย. ของทุกปี วันโอโซนโลก (World Ozone Day) ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เพื่อเป็นการ Keep The World ไม่ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิกภาคี ซึ่งไทยเราเองก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จีนสั่งอพยพ ประชาชน 1.6 ล้านคน เสี่ยงภัยพายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า เตือนภัยขั้นสุด
ฟอร์ด เตรียมลุยกระบะไฟฟ้า เล็งประเทศไทย มีแววเป็นฐานผลิตหลัก Ford Ranger EV
ทวนเข็มนาฬิกากลับไป ปี 1982 ณ เวลานั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบรูโหว่ขนาดใหญ่ในชั้นโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์กติก บริเวณแถบขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากสารคลอรีนใน CFC ที่ถูกกระแสลมพัดมาสะสมในเมฆชั้นสตราโตสเฟียร์ทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นช่องโหว่ นานาชาติจึงเริ่มเล็งเห็นปัญหาของการเกิดรูโหว่ครั้งนั้นอย่างจริงจังขึ้น โดยวิธีการเยียวยาช่องโหว่นั้นคือการลดสารที่ก่อให้เกิดมลพิษสะสมในชั้นบรรยากาศ โดยออกมาตรการ Keep The World อาทิ
• ประหยัดไฟฟ้า
• ปลูกต้นไม้ เพิ่มออกซิเจน
• ลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
• เดินทางรถสาธารณะมากขึ้น
• ลดการปล่อยของเสีย ทั้งทางน้ำ - อากาศ
• เลิกใช้เรื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสาร CFCs อาทิ สารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือสารที่อยู่ในกระป๋องสเปรย์ เป็นต้น
คำถามสำคัญ...โอโซน คืออะไร ? มีความจำเป็นอย่างไร ?
โอโซน (Ozone หรือ O3) คือรูปแบบพิเศษของออกซิเจน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในชั้นของบรรยากาศชั้นบน ๆ ชั้นโอโซนนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อโลก โดย ชั้นโอโซนอยู่ห่างจากผิวโลก ประมาณ 20 ไมล์
อธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดคือ โอโซน เป็นโมเลกุลที่ประกอบจาก ออกซิเจน 3 อะตอม เกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซออกซิเจน 1 โมเลกุลกับอะตอมออกซิเจนอิสระ 1 อะตอมที่แตกตัวจากก๊าซออกซิเจนโดยการกระตุ้นของรังสีอัลตร้าไวโอเลตซี (UV-C) ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกโดยที่ชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere)
ความสำคัญของ ชั้นโอโซน จะทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UV-B) ซึ่งเป็นรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและธรรมชาติหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นเมื่อใดที่โอโซนบางลงเราก็ได้รับการปกป้องน้อยลงด้วย
วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี วันโอโซนโลก ถือเป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสำคัญ เพราะสาเหตุหลักที่ชั้นโอนโซนเริ่มบางลง และเกิดรูรั่วแหว่ง ก็เป็นเพราะกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น และเอฟเฟ็กต์ผลกระทบเหล่านั้น ก็จะกลับมาทำร้ายอีกหลายล้านชีวิตบนโลก ดังนั้นแปลว่า การตระหนักได้ถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ได้กลายเป็นเทรนด์ของโลก ณ ตอนนี้ ก็จะมีส่วนช่วยปกป้องชั้นโอโซนให้อยู่ได้นานขึ้น
ที่มา https://www.un.org/en/observances/ozone-day
https://vikaspedia.in/energy/environment/important-days/world-ozone-day