ระวัง! ความเค็มของอ่าวไทยไหลรุกเข้าลุ่มน้ำบางปะกง หลังฤดูแล้งที่ผ่านมา พบค่าความเค็มในแม่น้ำสูงขึ้น หวั่นกระทบต่อการอุปโภค บริโภคน้ำของประชาชน กรมชลฯ เตรียมแผนรับมือ
ลุ่มน้ำบางปะกง เป็นลุ่มน้ำที่ติดกับอ่าวไทย มีจุดเชื่อมต่อกับแม่น้ำหลายสาย แต่ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาอ่าวไทยได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล หรือความเค็มจากน้ำทะเล ที่รุกเข้ามาทางปากแม่น้ำสายหลักทุกสาย หากนับจากทิศตะวันตกของอ่าวไทยไปยังทิศตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง
ความเค็มของน้ำทะเลรุกเข้ามายังแม่น้ำจะส่งผลอย่างไร?
ประเทศไทยเคยมีบทเรียนมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในขณะนั้นความเค็มของน้ำทะเลได้รุกคืบเข้ามายังแม่น้ำทั้ง 4 สายหลักอย่างผิดปกติ ความเค็มมีค่าสูงสุดและยาวนานที่สุด ซึ่งผลกระทบต่อการทำเกษตรและการผลิตน้ำปะปาที่พี่น้องประชาชนคนไทยใช้กันอยุ่ทุกวันนี้เป็นสำคัญ
กรมชลประทานจึงต้องวางแผนเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำรอย
จากบทเรียนดังกล่าว กรมชลประทานจึงได้ทำการเฝ้าระวัง ติดตามคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำบางปะกงอย่างต่อเนื่อง และนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันกำหนดจุดควบคุมความเค็ม และจัดทำแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเข้าไปเพื่อเจือจางความเค็ม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กลิสต์! 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66
เอลนีโญกำลังมา แต่โลกไม่พร้อมรับมือ ปี 2023 สภาพอากาศทั่วโลกแปรปรวนมากขึ้น
พายเรือเพื่อบางปะกง กิจกรรมเก็บขยะ 8 วัน ที่ทำให้รู้ว่า แม่น้ำกำลังร้องไห้
สรุป 10 ข่าวสิ่งแวดล้อม Keep The World แห่งปี 2022 : เทรนด์รักษ์โลกต้องไม่พลาด
ซึ่งแผนการนี้ได้รับความเห็นชอบแล้ว จากคระกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เพื่อควบคุมและชะลอค่าความเค็มให้รุกคืบแค่ตามช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนยังคงสามารถใช้น้ำในแม่น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค หรือทำการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อได้
การวางแผนอย่างรอบคอบ
แม่น้ำบางปะกง ถือเป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งในการหล่อเลี้ยงประชากรในพื้นที่ภาคตะวันออกกลางหลายจังหวัด ตั้งแต่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรีรวมไปถึงบางส่วนของสมุทรปราการและกรุงเทพมหานครด้วย ดังนั้นการบริหารจัดการและการเฝ้าระวังจึงต้องเป็นไปตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะชาวนา หรือ เกษตรกรเพาะผู้เลี้ยงที่มีความต้องการใช้น้ำกร่อยในการทำเกษตร อุปโภค บริโภค การทำอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ให้สามารถใช้น้ำได้อย่าสบายใจและปลอดภัย
เพื่อให้การติดตามและควบคุมความเค็มมีประสิทธิภาพ กรมชลประทานได้ติดตั้งระบบโทรคมนาคมตรวจวัดคุณภาพน้ำกระจายตัวในแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก สามารถตรวจวัดและส่งข้อมูลแบบ ณ เวลาจริง (Real Time)
สาเหตุการไหลรุกของน้ำเค็มสู่บางปะกง
เขตลุ่มน้ำบางปะกงไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่จะเก็บกักน้ำเพื่อใช้ผลักดันน้ำเค็มออกไปในช่วงฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอ นั่นจึงทำให้ตอนนี้ การแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่แม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
อีกปัจจัยหนึ่งคือ ปัจจุบัน ประชาชนยังมีความต้องการอุปโภค บริโภคน้ำสูงขึ้นต่อเนื่อง กลับกัน ปริมาณฝนก็ไม่มีความแน่นอน และในบางปี ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประจวบกับลักษณะแม่น้ำบางปะกงเองก็มีความลาดชันน้อย ทำให้น้ำเค็มสามารถรุกเข้ามาได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบว่า น้ำเค็มได้รุกเข้ามาแล้วเมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน โดยค่าความเค็มอยู่ที่ 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ผลที่ตามมาจากการวางแผนรับมือ
ดังนั้น ประชาชนในจังหวัดที่กล่าวไปข้างต้น คือ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรีรวมไปถึงบางส่วนของสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร โปรดติดตามข่าวสารและสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่การประปาส่วนภูมิภาคอยู่เสมอ เพื่อให้การใช้งานน้ำเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย
ข้อมูลและรูปภาพ