วราวุธสรุปผลงาน COP27 เตรียมแจกงานให้แต่ละหน่วยดำเนินการต่อ ก่อนเข้าสู่ COP28 ในปีหน้า พร้อมย้ำทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน คาดเสนอร่างกฎหมาย Climate Change ต่อ ครม. ต้นปี 66
จากเวที COP27 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีบทบาทอย่างมากในการประกาศเจตนารมณ์และการสร้างการรับรู้การดำเนินการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไทยสู่สิ่งแวดล้อมโลก โดยวันนี้ (8 ธ.ค. 2565) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการแถลงข่าวการประชุม COP27 Debrief ที่โรงแรมเซ็นทารา แอท เซ็นทรัล เวิลด์
โดยเป็นการสรุปผลงาน COP27 ที่ผ่านมา ก่อนไป COP28 พร้อมแจกการบ้านให้หน่วยงานไปดำเนินการต่อในเรื่องต่าง ๆ และไม่เพียงแค่หน่วยงาน ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ทุกกระทรวงต้องร่วมมือกันและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมามีการเร่งดำเนินการใน 3 ส่วนคือ ลดการปลดปล่อย การปรับตัว (Adaptation) และสนับสนุนการเงินด้านไฟแนนซ์
ส่วนเวที COP26 นายกรัฐมนตรีก็ได้เน้นย้ำจุดยืนและความมุ่งมั่นของไทยไปแล้ว ท้้งการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปพูดให้คนทั่วโลกได้ฟัง การส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่ง BCG นี้ ในเวทีประชุมเอเปคล่าสุด ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ทุกคนตอบรับ แนวทางนี้ของไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“วราวุธ” เปิดงาน วันสิ่งแวดล้อมไทย และวัน ทสม.แห่งชาติ ปี 65
วราวุธเผย สตรี-เด็ก คือกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบจาก Climate Change มากที่สุด
กรุงเทพธุรกิจผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนพัฒนาประเทศไทยสู่ความยั่งยืน
วราวุธ ชี้ Zero Carbon เรื่องเร่งด่วน จ่อปรับร่าง พรบ.โลกร้อน เป็นภาคบังคับ
"วราวุธ" สั่งจัดระเบียบขยะตามแนวชายฝั่งทุกชุมชน แก้ปัญหาทิ้งขยะซ้ำซาก
สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในประเทศ 6 ด้าน คือ
1.ด้านนโยบาย ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายกระทรวงขับเคลื่อนไปพร้อมกัน รวมไปถึงการจัดทำแผนดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับจังหวัดที่มีความสำคัญไม่แพ้ระดับประเทศ และแน่นอนว่างบประมาณเป็นสิ่งสำคัญ โดยทางกองทุนสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนเงินงบประมาณระหว่างปี 66-67 รวม 90 ล้านบาท มีการเร่งปรับแผนลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขาไม่ว่าจะเป็นพลังงานขนส่งการเกษตรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเอ็นบีซีที่จะลดการปลดปล่อยให้ถึง 40% ภายในปี 2030 ตามที่ได้กำหนดเอาไว้
นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนนโยบายด้าน BCG ที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ ไม่ฉะนั้นจากกระทบกับเกษตรกรทั่วประเทศหลาย 10 ล้านคน ซึ่งจากนี้ไปการปรับตัวจะทำให้ภาคการเกษตร จะทำนาวิถีใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thai Rice NAMA แบบเปียกสลับแห้ง จะทำให้ใช้ทรัพยากรน้ำลดลง ใช้พลังงานสูบน้ำเข้านาลดลง เพิ่มผลผลิต 20-30% ลดปล่อยก๊าซมีเทน 70% มีแผนขับเคลื่อนการปรับตัวแห่งชาติ
2.ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCUS มาใช้เชิงพาณิชย์ ภายในปี 2040 ปรับปรุงระเบียบกฎหมาย คัดเลือกเทคโนที่เหมาะสม รูปแบบการลงทุนมูลค่าเพิ่มของคาร์บอนเครดิต
3.ด้านการค้าการลงทุน ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม สิทธิประโยชน์ทางภาษี ทำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิค ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4.ด้านการพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต มีการออกระเบียบเรียบร้อยแล้ว ส่วนอนาคตจะปรับเปบี่ยนรถประจำทางมาใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจก และลดฝุ่น PM 2.5 ได้
5.การเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก โดยมีการกำหนดพื้นที่ปลูกต้นไม้ไว้ 6 แสนไร่ ซึ่งภาคประชาชนสามารถมาร่วมได้ในปี 2565
6.ด้านกฎหมาย มีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. … ซึ่งทำเสร็จแล้ว เสนอแล้ว แต่ดึงกลับมาก่อน เพราะเดิมใช้ภาคสมัครใจ แต่คิดว่าไม่เพียงพอแล้ว ต้องมีการบังคับเกิดขึ้น คาดนำเสนอที่ประชุมครม. ในต้นปี 2566
นอกจากนี้ กระทรวงทรัพย์ฯ ยังจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสถาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือความท้าทายด้าน Climate Change อย่างเต็มรูปแบบ แต่จะไม่เพิ่มภาระรัฐบาล หรือกระทบภาษีประชาชน เพราะเป็นการเอาภารกิจหลายๆ กรมในกระทรวงทรัพย์ฯ มารวมกันแล้วปรับการทำงานให้สอดคล้องกับภารกิจ
นายวราวุธ ย้ำว่า ความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม จะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้
อีกทั้งนายวราวุธ ยังได้กล่าวถึงการเสนอร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ว่า เดิมทีกำหนดว่าธุรกิจจะมีศักยภาพในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เท่าไร มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่าไร รวมไปถึงการขึ้นทะเบียนด้วยความสมัครใจ ใครสนใจก็มาขึ้นทะเบียน แต่ตอนนี้เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ให้เป็นภาคบังคับ เพราะการทำธุรกิจหรือการดีลกับต่างประเทศ เริ่มมีมาตรการทางภาษีเข้ามามากขึ้น และมีการใช้มิติของสิ่งแวดล้อมเข้ามา
ดังนั้นกฎหมายที่จัดทำนี้จะมีส่วนสำคัญกำหนดทิศทางว่าภาคเอกชน ภาคธุรกิจต่างๆ จะได้ไม่เสียเปรียบเวลาไปทำการค้ากับต่างประเทศ โดยล่าสุดยังมีจำนวนบริษัทที่ลงทะเบียนอย่างจำกัด ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง แต่อนาคตอันใกล้เมื่อมีบริษัทเพิ่มมากขึ้น ค่าใช้จ่ายและการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือการใช้คาร์บอนเครดิตของแต่ละโครงการก็จะถูกลง
ส่วนที่ดินปลูกต้นไม้ กว่า 6 แสนไร่ ยืนยันว่า เป็นพื้นที่ของเราเองที่มีอยู่แล้ว และนำมาฟื้นฟู ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหายังตกลงไม่ได้ จะยังไม่เอาเข้ามา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง