กรุงเทพธุรกิจเปิดเวที Sustainability Forum 2030 ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน และมุ่งสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มกำลัง
วานนี้ (30 พ.ย. 2565) กรุงเทพธุรกิจ ได้เปิดเวทีสัมมนา Sustainability Forum 2030 ณ โรงแรมไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ซึ่งในเวทีนี้จะมีการนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนประเทศเพื่อความยั่งยืนของภาคธุรกิจและภาคเอกชน ซึ่งนำโดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "Roadmap Thailand to COP27"
เนื่องจากประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนและการทำทุกทางเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในเวที COP27 ที่ผ่านมา ไทยได้มีบทบาทต่อสหประชาชาติในการนำเสนอการขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และมุ่งสู่แนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ในปี 2065 และตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว คือความร่วมมือระหว่างไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งไทยเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่ลงนามความร่วมมือเกี่ยวกัลคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ
รวมทั้งหลังจากนี้ไทยต้องจัดทำแผนดำเนินการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับจังหวัด แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านประชาชนต้องปรับตัวให้เข้าสู่ Low Carbon Society ต้องสื่อสารทุกภาคส่วนให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานระดับโลก รวมถึงเสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนขับเคลื่อนการจัดทำ Green Taxonomy ที่สอดคล้องกับมาตรการการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือ Nationally Determined Contributions (NDCs)
ในตอนท้าย นายวราวุธยังได้เสริมอีกว่า กรุงเทพฯกำลังจะเปลี่ยนรถบัสหรือรถเมลล์ประจำทางจากใช้น้ำมันดีเซล สู่รถบัสไฟฟ้า หรือ E-BUS 100% ให้ได้ ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการแล้ว และใน Phase ที่ 1 ตั้งเป้าว่าจะเปลี่ยนให้ได้ 500 คัน ซึ่งหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จจะสามารถลดก๊าซเรือนจกได้มากถึง 500,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
อีกทั้งรัฐจะสนับสนุนเกษตรกร ให้ทำการเกษตรแบบยั่งยืนและไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยการให้ความรู้ชาวนาในด้านของการทำนาแบบสลับเปียกสลับแห้ง Thai Rice NAMA ลดการใช้น้ำในนาลด ปรับพื้นที่นาและลดการเผาลงได้
สุดท้ายนี้ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในรัฐบาล เพราะหากเกิดภัยพิบัติ เวลาน้ำท่วม เขาไม่ได้เลือกที่จะท่วมรัฐบาลพรรคไหนฝ่ายไหน หรือจะเลือกท่วมใคร แต่จะท่วมทั้งหมดเท่าที่จะท่วมได้ ดังนั้น นายวราวุธเชื่อมั่นในศักยภาพคนไทย ถ้าเราร่วมมือกัน มันก็เป็นไปได้
นอกจากนายวราวุธจะเป็นตัวแทนจากภาครัฐแล้ว ในภาคส่วนของธุรกิจและเอกชน ก็ได้กล่าวถึงแนวทางของธุรกิจตนเองในการมีส่วนช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย
"ฐาปน สิริวัฒนภักดี" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอรเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ธุรกิจพลิกยุทธศาสตร์รับความยั่งยืนโลก” นายฐาปนกล่าวว่า เอกชนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคธุรกิจเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อโลก มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างการเติบโต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปตท.เร่งเป้า NET ZERO ใหม่เร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ชูปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่
ปตท. ชู 3 GROWTH พัฒนาองค์กรและประเทศสู่ความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เซเว่น อีเลฟเว่น เดินหน้าสนับสนุนเพิ่มพื้นที่สีเขียว คืนอากาศดีสู่สังคม
รักษ์พะงัน 24 ชั่วโมง เก็บขยะริมหาดและใต้ทะเล เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
“ไทยเบฟ”เดินหน้ารักษ์โลก ออกบรรจุภัณฑ์ใหม่ ใช้ซ้ำ รีไซเคิล ได้ 100%
ในปัจจุบัน คนมากขึ้น ก็มีการบริโภคมากขึ้น เราอยู่ในโลกของการบริโภค เรายังต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้ทรัพยากรที่เราใช้อยู่นั้นเพิ่มขึ้นได้ด้วย ดังนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยที่โลกจะกลายเป็น Net Zero โดยปราศจากความร่วมมือกัน
“ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้บรรยายในหัวข้อ “Sustainability Mega Trend 2023” นายศุภชัยกล่าวว่า เครือซีพีได้ประกาศยุทธศาสตร์ และเป้าหมายความยั่งยืนสู่ปี 2030 ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 Hs คือ Heart – Living Right, Health-Living Well และ Home-Living Together รวม 15 เป้าหมายในดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน
รวมทั้งเครือซีพีมีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้ลดลงทุกปี ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ไปจนถึงห่วงโซ่อุปทาน และซัพพลายเชนทั้งหมด ปัญหา Climate Change เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ภาคธุกิจต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่
รุ่นผมเป็นรุ่นที่ 50 (อายุ 50+) คนยุคผม เราถูกสร้างมาเป็นหุ่นยนต์ เราไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้ตั้งคำถามที่นำไปสู่การปรับปรุง ยุคผมไม่มีอุปกรณ์ แต่ยุคนี้ช่างรวดเร็วนัก ดังนั้นผมมองว่า คนที่จะเปบี่ยนโลกได้จริง ๆ ในอีก 15 ปีข้างหน้า คือเด็กในวันนี้ พวกเขาจะกลายเป็นแรงงานหลักของโลกและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมโลกได้ แต่เด็กในวันนี้มีความรู้ความพร้อมมากแค่ไหน ดังนั้นซีพีจึงสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับเด็ก ๆ ด้วย
“อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “เปิดแผนธุรกิจสู่องค์กรยั่งยืน” ว่า เทรนด์ของเรื่องพลังงานจะไปสู่เรื่อง “Go green” และ “Go electric” มากขึ้นซึ่งเป็นการจัดการพลังงานสะอาดจากต้นทางคือการผลิตไฟฟ้า หากสามารถที่จะจัดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ก็จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ดีขึ้น โดยการมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด ปตท.มีเป้าหมายในการเป็นองค์กร “NetZero” ในปี 2050
“ฮาลาลด์ ลิงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บี.กริม พาวเวอร์ กล่าวว่า บีกริม ตั้งเป้าว่าจะเป็นองค์กร net zero ในปี 2050 โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตไฟฟ้าให้ได้ 1 หมื่นเมกะวัตต์ภายในปี 2030 โดยเริ่มขยายธุรกิจไปประเทศอื่นจากที่ลงทุนในไทยและเวียดนาม แต่ขยายไปประเทศอื่นมากขึ้น
สำหรับแนวคิดการสร้างความยั่งยืนในองค์กรและการทำให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วม คือ การประยุกต์หลักศาสนามาใช้ โดยการทำธุรกิจต้องทำด้วยความโอบอ้อมอารีใช้ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งเป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่อยู่ในทุกศาสนา และสอดคล้อง Social development goal ของสหประชาชาติ (UN)
“สเตฟาน นูสส์” Cluster President & CEO Thailand ,Mynmar ,Laos ,Schneider Electric กล่าวว่า เมกะเทรนด์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกในวันนี้ มี 3 เรื่องหลักด้วยกัน คือ
1.Digitalization ซึ่งมีตัวเร่งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เทรนด์การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
2.Electrification การเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าซึ่งเห็นได้จากสิ่งของรอบตัวในทุกวันนี้ตั้งแต่ในบ้าน ออฟฟิศและการเดินทาง
3.Sustainability เทรนด์ความยั่งยืนที่ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนและร่ววกันพูดถึงในวันนี้
“กีต้า ซับบระวาล” ผู้ประสานงานสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ “Investment in Nature and Biodiversity” ว่า ความมุ่งมั่งของทุกภาคส่วนในประเทศไทยในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นสิ่งที่ดี แต่การจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต้องมีเป้าหมายชัดเจน มีการกำหนดโดยรัฐบาล มีการจัดหาเงินทุนภายในประเทศ เพื่อจัดหาทรัพยากรมาสนับสนุนเกี่ยวกับการเรียนรู้นำไปสู่การเกิดสังคมคาร์บอนต่ำขึ้นจริง
รวมทั้งมี Special Talk หัวข้อ “องค์กร วิถีนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน”
“ดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์” ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงและเชื่อมโยงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล หรือ ESG มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจในทุกวันนี้จนนำไปสู่การขับเคลื่อนภารกิจร่วมกันรับผิดชอบลดภาวะโลกร้อน (NET ZERO) และมีการยกระดับเพิ่มเป็นข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
"ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทยึดมั่นนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESG & Bio Circular-Green Economy-BCG) มุ่งเน้นการเติบโตอย่างสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างยั่งยืนได้รับความเชื่อถือในระดับสากล
“แดน ปฐมวาณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF กล่าวว่า NRF ในฐานะอุตสาหกรรมอาหารได้ทำการเข้าร่วมกับสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก (GCNT) และสนใจนำเอาเรื่อง SDG มาเป็น KPI ของบริษัท และเริ่มเข้าใจความสำคัญของปัญหา นำเรื่องของเป้าหมายที่ 13 คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาสู่ S-Curve ใหม่ เปลี่ยน Mission โดยมองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะในกระบวนการต้นน้ำ