และในแผนระยะสั้น ประเทศไทยมีแผนที่ Nationally Determined Contributions หรือที่เรียกว่า NDC และจากนี้ไปจนถึง ปี ค.ศ. 2030 ตั้งใจว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 40% ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ผลักดันแผนงานต่าง ๆ เริ่มจาก ที่ประเทศไทยได้ลงนามสัญญา กับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศคู่แรกในโลกที่ได้เซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายใต้เงื่อนไข ข้อ 6.2 ความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยไทยให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามโมเดลเศรษฐกิจ Biocircular Green Economy (BCG)
ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาแผนการปรับตัวระดับชาติ และส่งเสริมให้ชุมชนมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหา climate change โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการลด และควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูงเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิต และพฤติกรรมการบริโภค ให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชนต่อไป
นายวราวุธ กล่าวว่า “มีการพูดถึงคาร์บอนเครดิตเข้ามาจะเป็นการฟอกเขียวหรือไม่ เป็น Greenwashing หรือเปล่า ต้องบอกว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากบริษัทใหญ่เท่านั้น ยิ่งบริษัทใหญ่เท่าไหร่การปล่อยคาร์บอนฟรุ๊ตปริ้นยิ่งมากเป็นเท่าตัว เมื่อคุณสร้างปัญหาคุณก็ต้องช่วยแก้ปัญหา เรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ และการมีแนวคิดเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความโปร่งใส่ในการดำเนินการ การซื้อขายต้องมีความรัดกุม ภาคเอกชนอย่ามองว่าเป็นต้นทุนหรือภาระ ในทางกลับกันจะเป็นจุดเด่นในการแข่งขันของบริษัทมากกว่า การลงทุนจากนี้ไปจะเป็นการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้เตรียมผลักดันร่างพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยหรือกฎหมายโลกร้อน ซึ่งเป็นกฎหมายแรกของไทยเพราะเดิมที่กระทรวงฯจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)แต่เลื่อนออกมาก่อนเนื่องจากว่าจะต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระให้มีความเข้มข้นมากขึ้นด้วยสถานการณ์การดูแลสิ่งล้อมในปัจจุบัน เพราะเดิมเป็นการเน้นให้ภาคอุตสาหกรรมสมัครในลดคาร์บอน แต่ปรากฎว่าไม่มีคนใจมาก ดังนั้นการปรับปรุงร่างพรบ.ใหม่จะเน้นไปที่ภาคบังคับมากขึ้น คาดว่าน่าจะเสนอเข้าครม.ได้ในต้นปีหน้า