เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง มีผู้ลักลอบขายตัวแลนหรือตะกวด บริเวณตลาดดอยแก้ว อ.แม่ทา จ.ลำพูน เจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าจับกุมและยึดซากตะกวดได้ 3 ตัว พร้อมผู้กระทำผิด 1 ราย
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2565 น.ส.ชนันรัตน์ นวลแก้ว ผช.หน.ขสป.ดอยผาเมือง พร้อมด้วย จนท.สายตรวจเขต จนท.ฝ่ายจัดการพื้นที่ฯ ร่วมกันจับกุม/ตรวจยึด ซากตะกวด 3 ซาก (สัตว์ป่าคุ้มครอง บัญชีสัตว์เลื้อยคลาน ลำดับที่ 40) รวมน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม บริเวณตลาดดอยแก้ว หมู่ที่ 12 ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน จับกุมผู้กระทำผิด 1 ราย
ซึ่งได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ฐาน ห้ามมิให้ผู้ใดมีใว้ครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าวความตามมาตรา 17 และมาตรา 92 และฐาน ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าดังกล่าว ความตามมาตรา 29 และมาตรา 89
จึงได้ทำการลง ปจว.ข้อ 3 คดีอาญาที่ 781/2565 ยึดทรัพย์ที่ 172/65 เวลา 20.35 น. นำส่ง สภ.แม่ทา ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน ดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เตือนขับรถด้วยความระมัดระวัง หลังเจอเสือดำบนถนน
จับกุมพ่อค้าสัตว์ป่าคุ้มครองรายใหญ่ ลูกเสือโคร่งและนกเงือกรวม 10 ชีวิต
ถุงพลาสติก 36 ไมครอน ดูอย่างไร? หลังอุทยานทั่วประเทศห้ามนำโฟม-ถุง เข้าแล้ว
สาระน่ารู้ ตะกวด (แลน) ไม่ใช่เหี้ย
ตะกวด (แลน) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Tree Monitor, Bengal Monitor, Clouded Monitor
ลักษณะ : ตัวสีเทา มีจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตามตัว
อาหาร : หนู ไก่ นก ปลา กบ เขียด กินได้ทั้งของสดและของเน่า
พฤติกรรม : ไม่ดุร้ายเท่าเหี้ย ว่ายน้ำไม่เก่งเท่าเหี้ย แต่ชอบอยู่ใกล้น้ำเหมือนกัน มักอยู่ตามต้นไม้
สถานะการสูญพันธุ์ : ต่ำ
ส่วนเหี้ย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Water Monitor
การเรียก : คำว่า “เหี้ย” เป็นคำที่ดูไม่สุภาะ จึงเปลี่ยนมาใช้เป็น “ตัวเงินตัวทอง” สาเหตุที่ถูกนำไปใช้เสชรียกคนนิสัยไม่ดี เพราะว่า เหี้ย มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ และบริเวณแหล่งน้ำมักมีชุมชน เหี้ยมักหากินง่าย ๆ ด้วยการไปขโมยอาหารหรือสัตว์ของชาวบ้านมากิน เหี้ย เลยเป็นนิยามของคนนิสัยไม่ดีนั่นเอง
ลักษณะ : ลักษณะคล้ายกับตะกวด แต่ลายบนตัวจะชัดกว่า บ้างก็มีลายดอก และมีสีเหลืองจำนวนมากใต้พื้นท้องของมัน
อาหาร : ไก่ เป็ด ปลา หรือชอบกินคล้าย ๆ กับตะกวด
สถานะการสูญพันธุ์ : ต่ำ
พฤติกรรม : หากินใกล้แหล่งน้ำ จะปีนต้นไม้เฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเมื่อเหี้ยตัวโตเต็มที่จะตัวใหญ่กว่าตะกวด ด้วยน้ำหนักและขนาดตัวจึงไม่สามารถปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่วนั่นเอง
ประโยชน์ของตะกวดและเหี้ย
ตะกวดและเหี้ยมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นนักกำจัดซากสัตว์ตัวยง และสามารถควบคุมประชากรของสัตว์ตามธรรมชาติได้ด้วย
แต่ในปัจจุบัน แม้จะขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองแล้ว ก็ยังคงถูกล่าไปทำอาหาร หรือหนังเอาไปทำเป็นกระเป๋า รองเท้าอยู่เรื่อย ๆ
ที่มาข้อมูล
ประชาสัมพันธุ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช