อัปเดตการท่องเที่ยวไทยหลังเปิดบ้านรับนักท่องเที่ยว ไทยพร้อมแค่ไหนรับมือนักท่องเที่ยว พร้อมชวนรู้จักแอพพลิเคชันแบบใหม่ที่จะทำให้การเที่ยวไทยง่ายและสะดวกมากขึ้น
ขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการร้านค้าของไทยด้วย หลังผ่านพ้นการแพร่ระบาดของโควิด19 ไป ทำให้ไร้นักท่องเที่ยวมายาวนานเกือบ 3 ปี แต่หลังจากเปิดรับนักท่องเที่ยวครั้งนี้ ได้สร้างแรงกระเพื่อมแห่งความหวังให้กับเหล่าผู้ประกอบอีกครั้งในด้านเม็ดเงินที่จะหลั่งไหลเข้ามา
การหยุดรับนักท่องเที่ยวไปในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น การยังคงตัวของธุรกิจที่มีความหลากหลาย และวิธีการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดเมื่อไร้นักท่องเที่ยว และการฟื้นฟูของระบบนิเวศ เช่นปะการัง และจำนวนสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ขึ้น
ดังนั้น การจะเปิดบ้านรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งเปรียบเสมือนการหยุดช่วงเพื่อให้เราต้องปรับแผนการท่องเที่ยวใหม่ให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้สิ่งแวดล้อมที่เพิ่งถูกฟื้นฟูนั้นยังคงสวยงามไว้ได้ แม้จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามา
แต่ก่อนอื่นลองมาอัปเดตสถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยกันก่อน
ในปี 2565 นี้ ไทยได้เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน และหลังจากยกเลิกการเข้าประเทศแบบ Test & Go ไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ก็ทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มจำนวนมายิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีการคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้าไทยภายในปีนี้ (2565) อยู่ที่ 4,000,000 คนขึ้นไป
ข้อมูลล่าสุดจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการกีฬาเผยว่า ปี 2021 ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทย 85,845 คน ส่วนปี 2022 นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยอยู่ที่ 5,688,036 คน นั่นหมายความว่า ตอนนี้เป้านักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยมากเกินเป้าที่คาดการณ์ไว้ (อัพเดทข้อมูลล่าสุด 25 ต.ค. 2565)
ส่วนรายได้จากชาวไทยคาดมีเงินสะพัดประมาณ 700,315 ล้านบาท ส่วนจากนักท่องเที่ยวยังไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่ชัด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง 2022 ในงาน “APEC BCG Economy Thailand 2022"
โลกเปลี่ยน ธุรกิจก็ต้องเปลี่ยน โมเดล BCG จะทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้อย่างไร?
สวนดุสิตโพล เผย ช่วงสิ้นปีนี้ คนไทยอยากท่องเที่ยวเชียงใหม่มากที่สุด
กทม. แชมป์ เมืองท่องเที่ยวพักผ่อนที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2022
ปัญหาด้านการท่องเที่ยว
ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวของไทยยังมีปัญหาหลายด้าน อาทิ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเกินความคาดหมาย รายได้กระจุกตัว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวิกฤต Covid-19
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวก็เปลี่ยนไป
นักท่องเที่ยวเข้าไทยที่ผ่านมา มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป เช่น นักท่องเที่ยวที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็ก หรือ เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่ม FIT หรือก็คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทยมาด้วยตนเอง ไม่ได้มาพร้อมทัวร์ไกด์ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเน้นดูเรื่องของความสะอาดและความปลอดภัยมากขึ้น มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และยังมีอัตราการเติบโตสูงในเรื่องของการใช้ระบบดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ในการท่องเที่ยว เช่น การจ่ายเงิน การจองโรงแรม การดูรีวิวที่พักและร้านอาหาร เป็นต้น
Happy Model กลไลใหม่ดึงนักท่องเที่ยวให้มีคุณภาพมากขึ้น
เพื่อให้การท่องเที่ยวงของไทยยั่งยืนและมีคุณภาพมากขึ้น จึงได้มีการวางโมเดลเพื่อพัฒนาให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจท่องเที่ยวมีคุณภาพสูง พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม โมเดลนั้นคือ Happy Model
Happy Model คือ กลไกยกระดับการพัฒนาสินค้าและบริการด้านท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง นักท่องเที่ยวมีคุณภาพสูง ชุมชนก็ต้องมีคุณภาพสูงด้วย ผ่านกิจกรรม 4 ด้านด้วยกันคือ กินดี อยู่ดี ออกกำลังกายดี และแบ่งปันสิ่งดี ๆ แก่กัน
ก่อนหน้านี้เรามักมองการท่องเที่ยวต้องมาจากการลงทุนในการดูแลธรรมชาติและวัฒนธรรม แต่เราต้องเปลี่ยนใหม่เป็นการสร้างรายได้จากวัฒนธรรมและธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณนักท่องเที่ยว และสร้างรายได้จากประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ
อีกทั้งต้องยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนของนักท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ พัฒนาจากเมืองน่าเที่ยวกลายเป็นเมืองน่าอยู่ และนอกจากนี้ต้องเน้นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ประชาชนในพื้นที่และคนรุ่นใหม่รู้สึกรักและภูมิใจในถิ่นเกิด สามารถพัฒนาถิ่นเกิดของตนเองได้
กิจกรรม 4 ด้าน จะช่วยพัฒนาชุมชนและการท่องเที่ยวได้อย่างไร?
กินดี (Eat Well) – อาหารจะต้องอร่อย สะอาด มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารของท้องถิ่นและสมุนไพรจะต้องได้มาตรฐาน มีประโยชน์จริงและปลอดภัย
อยู่ดี (Live Well) – ที่พักต้องได้มาตรฐาน ดูแลและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งในเรื่องของการจัดการขยะและน้ำเสีย ทั้งนี้ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน พร้อม (WIFI) กิจกรรมต่างๆต้องส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี เช่น นวด/สปา ของท้องถิ่น
ออกกำลังกายดี (Fit Well) – ส่งเสริมการเล่นกีฬาและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ขี่จักรยาน วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ดำน้ำ ปีนเขา มวยไทย ระบำรำฟ้อน สามารถเข้าถึงได้ง่าย
แบ่งปันสิ่งดี ๆ (Give Well) – เป็นการแบ่งปันความรู้ โดยเฉพาะจากท้องถิ่นสู่นักท่องเที่ยว ท้องถิ่นสามารถแนะนำสินค้าและสถานที่ Unseen ให้กับนักท่องเที่ยวได้ รวมถึงกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชน เช่น การเป็นอาสาสมัคร และการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน โดยกิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ๆ คือ คนที่ชื่นชอบการเดินสายทำบุญ (สายมู) ผู้ชอบการผจญภัยกับธรรมชาติและเกษตร สายชื่นชอบเยี่ยมชมวัฒนธรรม และสายผจญภัย Adventure
รองรับกิจกรรมที่หลากหลายด้วย Digital Tourism Platform
เพื่อให้กิจกรรมด้านบนดำเนินการได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ แถมสะดวกสบายมากขึ้น จึงมีการจัดทำแอพพลิเคชัน TAGTHAI ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มในการเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยจะมีการรวบรวม Content เกี่ยวกับชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว อาหารและกิจกรรม ตาม Happy Model ที่วางเอาไว้ รวมถึงเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์และการขายสินค้าและบริการได้ด้วย
แอพพลิเคชันนี้ทำอะไรได้บ้าง?
ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.tagthai.com/th
หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชันได้ที่ >>>
ที่มาข้อมูล