วิกฤตน้ำท่วมปากีสถานที่ลากยาวมาระยะหนึ่ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,200 ราย ผู้บาดเจ็บมากกว่า 12,000 ราย (ยังไม่รวมผู้หายสาบสูญ) แต่สภาพการณ์เลวร้ายยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะบางเมืองในปากีสถานขึ้นแท่น 'เมืองมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลก' แซงหน้าอินเดียไปแล้ว!
สถานการณ์ชวนหวั่นใจจริงๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ปากีสถาน เพราะนอกจากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก ยังพบว่า คุณภาพอากาศในบางเมืองย่ำแย่จนแซงหน้า อินเดีย ไปอีก!
ชาวเมืองใดในปากีสถานที่ประชาชนต้องสู้ชีวิตอย่างหนัก?
เมื่อค้นข้อมูลด้านการตรวจวัดคุณภาพอากาศบน Air quality index (AQI) ทั้งที่เป็นข้อมูลย้อนหลังและปัจจุบัน พบชื่อเมือง อิสลามาบัด (Islamabad), ละฮอร์ (Lahore), การาจี (Karachi) และ ไฟซาลาบัด (Faisalabad) ที่เคยติด Top 10 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก แต่ที่ชวนเอะใจคือ ละฮอร์ เมืองที่ตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบ
สาเหตุที่ ละฮอร์ กลายเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ
งานวิจัย Study of Exhaust Emissions from Different Fuels based Vehicles in Lahore City of Pakistan ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2018 ที่เน้นการวัดระดับมลพิษทางอากาศเนื่องจากการจราจรคับคั่งในเมืองละฮอร์ ระบุว่า แหล่งก่อมลพิษหลักมาจาก ไอเสียจากยานพาหนะ 2 ล้อและ 4 ล้อที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ ซึ่งมีความเข้มข้นของ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide : CO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxide : NOx) และ ซัลเฟอร์ออกไซด์ (Sulfur Oxide : SOx) ในระดับสูง
ข้อมูลอีกแหล่งจาก Pakistan Environmental Protection Agency (Pak-EPA) ระบุ 2 สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองละฮอร์ คือ 1) การปล่อยไอเสียจากยานพาหนะ และ 2) การปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม ตามมาด้วย การใช้เตาอิฐเผาถ่านหิน การเผาพืชผลทางการเกษตรกับของเสียทั่วไป รวมถึงฝุ่นจากสถานที่ก่อสร้าง
ขณะที่ 2018 World Air Quality Report มีข้อมูลว่าในปีนั้น ละฮอร์ติด Top 10 คุณภาพอากาศย่ำแย่ และแย่ลงอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องเผชิญปัญหาหมอกควัน (Smog) หนักขึ้น ซึ่งนอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ การมองเห็น ยังเจออุปสรรคในการคมนาคมร่วมด้วย
.....................................................................................................
ย้อนดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ บ่งชี้ว่า ปากีสถานกำลังเผชิญ Climate Crisis อย่างหนัก
.....................................................................................................
สิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ ปากีสถาน
"เรามุ่งที่จะทำให้มลพิษทางอากาศดีขึ้นและลดการปล่อยมลพิษลง ขณะเดียวกัน เราก็กำลังผ่านปีหายนะของวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" เชอร์รี เรห์มาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของปากีสถาน กล่าวเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2565 เนื่องในวันอากาศสะอาดสากล #WorldCleanAirDay
แนวทางที่ปากีสถานใช้เพื่อลดผลกระทบจากคุณภาพอากาศแย่
The Punjab EPA once again has planned to “waste” another amount on repair and maintenance of air quality monitoring stations, which never produced accurate air quality data.#pollution #Smog #ClimateCrisishttps://t.co/RXdsis1uFO pic.twitter.com/iacxiJX7Ip
— Samiullah Randhawa (@sami_randhawa) February 4, 2022
เห็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สั่งสมในปากีสถานกับแนวทางแก้ปัญหาแล้ว ในฐานะประชากรไทย-ประชากรโลก เราจะช่วยประเทศหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เมืองของเราได้อย่างไรบ้าง?
.....................................................................................................
ที่มา