ยุโรปกำลังเผชิญภัยแล้ง ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 500 ปี โดยพื้นที่ 2 ใน 3 ของทวีปยุโรป แม่น้ำเกือบทุกสายแห้งขอด ส่งผลกระทบต่อการผลิตพลังงาน และมีแนวโน้มเกิดความอดอยาก และปัญหานี้ อาจจจะลากลากยาวไปจนถึง พฤศจิกายน เลยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ Climate Change ดูจะเป็นเรื่องราวที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา และดูเหมือนว่า ตอนนี้หลายๆพื้นที่ทั่วโลก กำลังโดนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพราะล่าสุดมีรายงานว่า ยุโรปกำลังเผชิญภัยแล้ง ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 500 ปี โดยพื้นที่ 2 ใน 3 ของทวีปยุโรป แม่น้ำเกือบทุกสายแห้งขอด ส่งผลกระทบต่อการผลิตพลังงาน และมีแนวโน้มเกิดความอดอยาก และปัญหานี้ อาจจจะลากลากยาวไปจนถึง พฤศจิกายน เลยทีเดียว
ประเด็นของ ภัยแล้งยุโรป ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 500 ปี เป็นรายงานมาจาก สำนักงานสังเกตการณ์ภัยแล้งโลก (Global Drought Observatory : GDO) โดยรายงานนี้ ว่า ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ในปัจจุบัน ตอนนี้พื้นที่ราว 47% ของทวีปยุโรปอยู่ภายใต้สถานะเตือนภัย ภัยแล้ง นั่นหมายความว่า พื้นดินกำลังเหือดแห้ง ขณะที่อีก 17% อยู่ในสถานะ ‘เฝ้าระวัง’ ซึ่งหมายถึงพืชผลทางการเกษตรกำลังแสดงสัญญาณของความตึงเครียดออกมา
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทุกๆ 1 นาที มีต้นไม้ถูกไฟป่าเผา ในพื้นที่ราว 16 สนามฟุตบอลในปี 2021
หากจะไขข้อสงสัยว่า ดัชนีตัวชี้วัดความแห้งแล้งของสำนักเฝ้าระวังภัยแล้งของยุโรป (European Drought Observatory (EDO)) วัดจากอะไรนั้น สำนักเฝ้าระวังภัยแล้งของยุโรป ใช้การวัดปริมาณน้ำฝน ,และความชื้นในดิน , รวมถึงส่วนของรังสีจากดวงอาทิตย์ ที่พืชดูดกลืนเพื่อสังเคราะห์แสง และรวบรวมเป็นตัวเลขสถิติเหล่านี้ออกมา
ความแห้งแล้งในทวีปยุโรปอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อหลายภูมิภาคของยุโรปนับตั้งแต่ต้นปี 2022 ที่ผ่านมา และได้ขยายตัว และเลวร้ายลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม และ อาจจจะลากลากยาวไปจนถึง พฤศจิกายน เลยทีเดียว
ขณะที่สภาพภูมิอากาศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีแนวโน้มว่าจะมีอากาศอบอุ่น และแห้งแล้ง กว่าสภาวะปกติจนถึงเดือนพฤศจิกายน
โดยหากระบุให้ชัดขึ้นก็คือ สถานการณ์กำลังย่ำแย่ลงในหลายประเทศ ทั้งอิตาลี, สเปน, โปรตุเกส, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, โรมาเนีย, ฮังการี, เซอร์เบีย, ยูเครน, มอลโดวา, ไอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร