คริสตอป เมเยอร์ นักธรณีวิทยา ว่า ภายในเวลาเพียง 50 ปี ธารน้ำแข็งภูเขา หรือ ธารน้ำแข็งอัลไพน์ ในเยอรมนี จะสูญสลาย หายวับไปกับตา เหตุผลเพราะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น ปริมาณน้ำฝนน้อยลง และทางแก้คือต้องพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปัญหาเรื่องธารน้ำแข็งละลายในอัตราปริมาณที่รวดเร็วดูจะเป็นปัญหาในทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศเยอรมนี ประเทศหนึ่งในโซนยุโรปตะวันตก โดยมีการเปิดเผยข้อมูลจาก คริสตอป เมเยอร์ นักธรณีวิทยา ว่า ภายในเวลาเพียง 50 ปี ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) หรือ ธารน้ำแข็งอัลไพน์ จะสูญสลาย หายวับไปกับตา
ทั้งนี้ ปัญหาธารน้ำแข็งอัลไพน์ หรือ ธารน้ำแข็งภูเขา ละลายอย่างรวดเร็ว เป็นเพราะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น มีปริมาณน้ำฝน น้อยลง ในปี 2022 ปีนี้ นั่นจึงเป็นเรื่องยาก ที่จะทำให้ ธารน้ำแข็งภูเขา คงอยู่ในสถานะ แช่แข็ง คงแบบเดิมต่อไป
ทั้งนี้ คริสตอป เมเยอร์ นักธรณีวิทยา ให้ความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้เรื่องนี้ มีทิศทางที่ดีขึ้น คือการที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการเผย ไทยเสี่ยงน้ำท่วมหนักสิ้นปีนี้ โลกร้อนและลานีญายาวนานขึ้น
อีกหนึ่งตัวเลขที่น่าตกใจก็คือ บนยอดเขา Zugspitze ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเยอรมนี มีปริมาณหิมะต่ำที่สุด นับตั้งแต่ปี 1901 หรือในรอบ 121 ปี เลยทีเดียว
ย้อนกลับไปในปี 2021 เพิ่งมีรายงานว่า ธารน้ำแข็งของเยอรมนี 5 แห่งใน Zugspitze และใน Berchtesgaden Alps ได้สูญเสียปริมาณน้ำไปราว 2 ใน 3 ของปริมาณในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พื้นผิวของพวกเขาหดลงหนึ่งในสามซึ่งสอดคล้องกับสนามฟุตบอลประมาณ 36 สนาม
นอกจากนี้ ในยุคมิลเลเนียม หรือหลังปี 2000 เป็นต้นมา ธารน้ำแข็งของโลกสูญเสียน้ำแข็งไปโดยเฉลี่ย 267 พันล้านตันต่อปีระหว่างปี 2000 - 2019 ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้สวิตเซอร์แลนด์จมอยู่ใต้น้ำหกเมตรทุกปี เลยทีเดียว