รู้ยัง? ปัจจุบันปัจจุบันไทยมีฐานพลังงานสะอาดในประเทศอยู่ที่ 20% และคาดการณ์ว่าอีก 10-20 ปี พอร์ตพลังงานสะอาดของไทยจะเติบโตขึ้นไปจนถึง 50-60% จะส่งผลต่อการลงทุนที่จะเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากจากนักลงทุนต่างชาติ
เทรนด์ลงทุนพลังงานสะอาดทั่วโลกกำลังมาแรงมาก รวมถึงไทยก็มาแรงไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน เพราะผู้คนหันมาสนใจรักษ์โลกมากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยล่าสุดไทยได้ตั้งเป้าพร้อมเป็นฮับพลังงานสะอาดแห่งอาเซียน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันไทยสู่ฮับพลังงาน-ยานยนต์แห่งเอเชีย พลิกโฉมอนาคตสู่พลังงานสะอาด
ไทยเตรียมขึ้นแท่น "เมืองพลังงานสะอาด" ยอดลงทุนรถ EV รวมกว่า 1 แสนล้านบาท
เปิด 5 เทรนด์พลังงานสะอาดปี’66 น่าจับตา พลังงานลม-แสงอาทิตย์ มาแรง !
โดยดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานงาน “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย และ “ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย 2023” (Future Energy Asia and Future Mobility Asia 2023) มหกรรมด้านพลังงานและยานยนต์ครั้งสำคัญของภูมิภาค ว่าประเทศไทยมีจุดแข็งและนโยบายด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนเป็นเบอร์ต้นๆ ในภูมิภาคอาเซียนพร้อมได้รับการยอมรับระดับโลก ด้วยจุดแข็ง 2 ประการ คือ 1. ไทยมีนโยบายพลังงาน มีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ สร้างอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ
2.คือในปัจจุบันไทยมีฐานพลังงานสะอาดในประเทศ 20% และคาดการณ์ 10-20 ปี พอร์ตพลังงานสะอาดของไทยจะเติบโต 50-60% ทั้งนี้จะส่งผลต่อการลงทุนจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างมหาศาล
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาไทยมีต้นทุน 3 ปัจจัย คือ
1.ไทยเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ 300 ล้านตัน หากเทียบกับประเทศในอาเซียน อย่างอินโดนีเซียที่ปล่อย 3,000 ล้านตัน เวียดนามที่ปล่อย 900 ล้านตัน
2.ต้นทุนด้านพลังงานสะอาดที่มีต้นทุนเดิมถึง20% และในอนาคตมีโอกาสทะลุถึง 60% พร้อมกันนี้ยังมีเรื่อง Utility Green Tariff ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำลังดูแลอยู่ในขณะนี้
3.ประเทศไทยมีความต้องการทางตลาดกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางในอาเซียน ที่มีความน่าใจในการลงทุน
สำหรับแผนพลังงานชาติและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) มองว่า แผนดังกล่าวได้สะท้อนปัจจัยที่ตอบโจทย์ Energy Dilemma ครบถ้วนแล้วสามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมรักษาคุณภาพผ่านค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดไฟฟ้าดับที่น้อยกว่า 0.7 วัน ถัดมาคือการเข้าถึงราคาพลังงานได้อย่างเหมาะสม ประการสุดท้ายคือ ความยั่งยืนของพลังงานหากดำเนินงานตามแผนจะทำให้ไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้หากโลกเกิดวิกฤตด้านพลังงานในอนาคต
“มองว่าแผนพลังงานชาติจะคำนึงถึงความยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ในอนาคต พลังงานสะอาดจะต้องสามารถต่อยอดได้ จะต้องดึงดูดการลงทุนสีเขียว ทั้งนี้เห็นว่าแผนดังกล่าวมีความเป็นสากล ครอบคลุมด้านพลังงานนอกจากนี้กระทรวงพลังงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างแก้ไขรายละเอียด เพื่อเสนอร่างแผนพลังงานชาติชุดใหม่ คาดว่าจะประกาศใช้ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 66”