svasdssvasds

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ทำหน้าที่อะไร? 23 สถานีเร่งขยายพันธุ์คืนธรรมชาติ

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ทำหน้าที่อะไร? 23 สถานีเร่งขยายพันธุ์คืนธรรมชาติ

รู้หรือไม่ ! สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ทำหน้าที่อะไร? เชื่อไหมปัจจุบันกรมอุทยานฯ มีสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ จำนวน 23 แห่ง ทั่วประเทศ เดินหน้าเร่งขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายาก เพื่อคืนสู่ธรรมชาติ

ยังคงเป็นภาระกิจที่ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องสำหรับเร่งขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายาก เพื่อคืนสู่ธรรมชาติ โดยหน้าที่หลักเป็นของเจ้าแม่งานอย่าง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ขณะนี้เดินหน้าที่ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ภายใต้การดูแลของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช คือ งานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าและฟื้นฟูพันธุกรรมสัตว์ป่าและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ คืนสู่ธรรมชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์สัตว์ป่าที่ให้เพาะพันธุ์ได้เพื่อเชิงเศรษฐกิจ เป็นต้นแต่ปัจจุบันสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า มีภารกิจเพิ่มเติมในการดูแลสัตว์ป่าพลัดหลงหรือถูกปล่อยทิ้ง และสัตว์ป่าที่มีผลกระทบต่อชุมชน และสัตว์ป่าของกลางที่ถูกจับกุมดำเนินคดีจากผู้กระทำผิดลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งสัตว์ป่าบางส่วนไม่สามารถปล่อยคืนธรรมชาติได้ ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น เนื่องจากไม่ใช่สายพันธุ์แท้ หรือไม่สามารถชีวิตในป่าได้เหมือนเดิม รวมถึงสัตว์ป่าของกลางที่ต้องดูแลจนกว่าคดีจะสิ้นสุด เป็นต้น โดยในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่านั้น ต้องบริหารจัดการภายใต้งบประมาณและบุคลากร หากมีการดำเนินคดียาวนานภาระความรับผิดชอบเหล่านี้ก็จะมากขึ้นไปด้วย

นอกจากภารกิจการเพาะพันธุ์ ดูแลและเลี้ยงดูสัตว์ป่า อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีเรื่องที่ไม่ค่อยรู้กัน ก็คือ ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และแสดงพันธุ์สัตว์ป่าอีกด้วย ถ้าเปรียบง่ายๆ ก็คือ เหมือนเป็นสวนสัตว์แห่งหนึ่งเลยทีเดียวซึ่งดีตรงที่ทำให้เราสามารถเห็นสัตว์ป่า ที่ไม่ค่อยได้เห็นกันง่ายๆ เราจะได้พบหมีตัวใหญ่ ลิง ชะนี นกเงือก เสือและอีกสารพัดสัตว์ ที่ตามปกติแล้วโอกาสในการพบเจอนั้นค่อนข้างน้อย

อย่างไรก็ตามปัจจุบันกรมอุทยานฯ มีสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ จำนวน 23 แห่ง ดังนี้

1.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน จ.สระแก้ว 2.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางพระ จ.ชลบุรี

3.สถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ จ.ชลบุรี

4.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จ.ชลบุรี

5.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสอยดาว จ.จันทบุรี 6.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี

7.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย จ.เพชรบุรี 8.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา จ.พังงา

9.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโตนงาช้าง จ.สงขลา

10.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพัทลุง จ.พัทลุง

11.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโคกไม้เรือ จ.นราธิวาส 12.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

13.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

14.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าขอนแก่น จ.ขอนแก่น

15.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จ.ศรีสะเกษ 16.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี 17.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

18.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง จ.เชียงราย

19.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่ลาว จ.เชียงราย 20.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่จัน จ.เชียงราย 21.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย จ.เชียงใหม่

22.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยยางปาน จ.เชียงใหม่

23. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าปางตอง จ.แม่ฮ่องสอน ดูน้อยลง

 

 

 

 

related