ในงานเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era เปิดเวทีด้วยปาฐกถาพิเศษ Go Green : Thailand Roadmap จาก นายวราวุธ ศิลปอาชา เผยว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบของ Climate Change เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำ และทำด้วยกันทั้งด้วยทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
ในงานเปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษ Go Green : Thailand Roadmap ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ทั่วโลกพูดถึง ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมและ Climate Change ซึ่งส่งผลกระทบกับทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอากาศเย็นสุดขั้วในหลายประเทศ อย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ฯลฯ หรือที่ สนามบินฮีทโทรล อากาศร้อนจัดจนยางมะตอยละลาย หรือแม้แต่น้ำท่วมที่บ้านเราเจอกันทุกปี บางพื้นที่เจอน้ำท่วมเป็นประจำ
ประเทศไทยมีความเปราะบางกับภัยธรรมชาติมาก ถึงแม้เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยแต่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ โลก ซึ่งการเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วนของประเทศไทย เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีโดยมีการกำหนดเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ในระยะสั้นปี 2030 เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงาน ขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ของเสีย รวมถึงภาคการเกษตร เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือ EV และเป้าหมายในระยะยาวไทยตั้งเป้าเรื่อง Net Zero GHG ในปี 2065
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ฝุ่นเชียงรายอ่วม วราวุธ เจรจาเพื่อนบ้าน วอนทุกฝ่ายแก้ต้นตอฝุ่นจริงจัง
วราวุธ แนะภาคธุรกิจ ยิ่งปล่อยคาร์บอนต่ำ ยิ่งลงทุนน้อย แต่ได้กลับมามาก
วราวุธ นำทีม ทส. ถก FMF 2023 เร่งสร้างอุตสาหกรรมโลหะสีเขียว พัฒนาแร่ธาตุสำคัญ
นอกจากนี้ในภาคการเกษตรซึ่งโดยปกติการทำนาจะสะสมน้ำไว้นานๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมของของเสียทำให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งส่งผลกับโลก เราเปลี่ยนการทำนาเป็นแบบใหมโดยไม่ต้องขังน้ำไว้เป็นเวลานานๆ วิธีนี้ไม่ทำร้ายโลก และยังไม่กระทบกับการผลิตอีกด้วย และได้มีการนำร่องแล้วหลายจังหวัด เช่น สุพรรณบุรี อยุธยาและยังได้มีการร่วมกับ Thai Rice GCF ขยายพื้นที่ทำการเกษตรแบบใหม่เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก
เรื่องของคาร์บอนเครดิตเป็นกลไกที่เกิดขึ้นแล้ว มีโครงการ T-Ver ถึง 144 โครงการ ซึ่งมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองแล้ว 14.14 ล้านตัน และยังมีการพัฒนา Carbon Credit Exchange Platform แพลตฟอร์มในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จะช่วยให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสะดวกขึ้น
ในส่วนของ CCUS เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนของประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาคตะวันออกกอาจมีศุกยภาพในการกักเก็บถึง 7,000 ล้านตัน ซึ่งมีโครงการนำร่องในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนแล้ว "โครงการแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย"
นายวราวุธได้ กล่าวทิ้งท้ายว่า การเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ไม่ใช่ภาระแต่เป็นโอกาส ซึ่งการปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นทางที่จะทำให้เรารอด และลดความรุนแรงจากผลกระทบของ Climate Change
และยังมีการกล่าวถึง CBAM กำแพงภาษีว่าด้วยสิ่งแวดล้อม มีกำหนดแล้วในกิจกรรมอย่าง ปุ๋ย เหล็กกล้า กระดาษ ซีเมนต์ อะลูมีเนียม แก้ว ปิโตรเคมี และกำลังจะขยายต่อไปผลิตภัณฑ์อื่น ดังนั้นต้องปรับวิธีการดำเนินธุนกิจ วิธีคิด ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องปรับมีวิธีการดำเนินธุรกิจ วิธีคิด วิธีทำ อย่ารอให้เค้ามาเปลี่ยนเรา เราต้องเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ว่าจะทำเปมื่ไรต้องทำด้วยกัน ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน