ในงานสัมนมา อนาคตประเทศไทย : Soft Power ขับเคลื่อนประเทศ? ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพำเวอร์ กรุงเทพฯ (รำงน้ำ) ใน Session 1: ส่งออกของดีไทยให้เป็น Soft Power สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยได้อนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมหัตถกรรมไทย โดยผสมผสานเข้ากับ Soft power ในเรื่องต่างๆ
นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อานวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT) เผยว่า วิธีการส่งเสริมหัตถกรรมซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของไทยคือการสอดแทรกไปในงานหัตถกรรม และส่งเสริมให้คนรุ่นไหมมาใช้หัตถกรรมไทยมากขึ้น อย่างการนำผ้าบาติกของภาคใต้ หรือผ้าไหมมาออกแบบเป็นชุดให้นางงามบนเวทีต่างๆ ใส่ ซึ่งเป็นอีกวิธีในการให้ Soft power ขับเคลื่อนหัตถกรรมไทย
\
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เปิดนโยบาย 6 พรรค ผลักดัน Soft Power ขุมกำลังสำคัญ ส่งไทยยืนหนึ่งเวทีนานาชาติ
ปชป. มอง Soft Power ชูเกาหลีเป็นต้นแบบ ถึงเวลาที่รัฐต้องเข้ามาหนุนจริงจัง
"สุวัจน์" หนุนกองทุนหมื่นล้าน ดันซอฟต์พาวเวอร์ส่งเสริมเศรษฐกิจไทย
นายภาวี ยังเผยอีกว่า “SACIT ส่งเสริมหัตถกรรมไทยให้เป็น Soft Power โดยผสมผสานเข้ากับ Film, Festival, Food, Fighting และ Fashion ซึ่งในเรื่องแฟชั่นเราส่งเสริม Slow Fashion ให้วิสาหกิจชุมชนไม่ใช้สารเคมีในการผลิตสินค้า เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจหมุนเวียน”
SACIT มีการใช้ Soft power ขับเคลื่อนหัตถกรรม โดยทดลองในงานแฟร์ ปรากฎว่ามีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจทดลองทำการปักสะดึงกลึงไหม และทดลองเขียนลายผ้าบาติก ซึ่งเป็นการผูกโยงหัตถกรรมไทยเข้ากับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อรายได้ให้ชุมชน