GISTDA เผยไทยพบจุดความร้อน 2,269 จุด กาญฯ เบอร์หนึ่ง พบ 357 จุด อย่างไรก็ตาม สภานการณ์ของไทยยังดีกว่า เมียนมาและกัมพูชา ที่เจอจุดความร้อนมากกว่า อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เป็นแบบนี้ สิ่งที่จะตามมาก็คือ โอกาสที่เจอไฟป่าและฝุ่นละออง PM 2.5 เยอะขึ้น
GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) ไทยพบจุดความร้อนวานนี้ (23 ก.พ. 2566) จำนวน 2,269 จุด ในขณะที่จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เมียนมายังครองอันดับหนึ่งอยู่ที่ 3,142 จุด รองลงมาคือกัมพูชา 2,514 จุด, สปป.ลาว 1,582 จุด, เวียดนาม 371 จุด และมาเลเซีย 19 จุด
สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1,016 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 633 จุด, พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 239 จุด, พื้นที่เกษตร 217 จุด, พื้นที่เขต สปก. 144 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 5 อันดับคือ
กาญจนบุรี 357 จุด
ตาก 182 จุด
อุตรดิตถ์ 136 จุด
ชัยภูมิ 135 จุด
กำแพงเพชร 114 จุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่วน ค่าฝุ่น PM2.5 เมื่อตรวจสอบจากแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 10.00 น. พบว่าในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาทิ อำนาญเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครพนม อยู่ระดับที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ รวมถึงพื้นที่ของกรุงเทพมหานครด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนออกจากบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจที่อาจจะตามมา
สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม