หลายประเทศ ออกมาตรการและตั้งเป้ายกเลิกพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลังพลาสติกกลายเป็นตัวการสำคัญ สร้างปัญหากับภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ ที่ทําให้อุณหภูมิเฉลี่ย ของโลกเพิ่มสูงขึ้น หรือที่เราเรียกว่า Global Warming ซึ่งการเกิดภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบกับระบบต่างๆ ของโลก ส่วนปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ การใช้พลาสติก เพราะพลาสติก ต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายนาน หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อนได้
หากพูดถึงลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น ไม่ว่าจะเป็น หลอด ขวด ถุง และอื่นๆ กำลังเป็นปัญหาที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกเผชิญอยู่ ทำให้บางประเทศเล็งเห็นถึงการดำเนินการยกเลิกพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว ซึ่งข้อมูลจากหลายแห่งได้รวบรวมประเทศที่ออกมาตรการ กฎเหล็ก สั่งแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี 2566 ไฟไหม้บ่อขยะในไทยแล้วกว่า 4 ครั้ง ซ้ำเติมปัญหาฝุ่นควันให้รุนแรงขึ้น
เด็กไทยเจ๋ง! นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสริมไคโตซาน ลดขยะจากเปลือกกุ้ง
ขยะพลาสติกเกลื่อนโลก แต่ ธุรกิจตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดยังสดใส ไปได้สวย
ขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ปี 2019-2021 เพิ่มขึ้น 6 ล้านตัน สวนทางการรณรงค์
สภาวิศวกรชี้ ไทยจบปัญหาขยะได้ เริ่มที่ วินัย พร้อมเปิดอาคารใหม่ ใส่ใจต่อโลก
เริ่มที่ประเทศแคนาดา ตั้งเป้ายกเลิกพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2564 ส่วนประเทศอินเดีย รัฐบาลกลางอินเดีย ได้ประกาศกฎแก้ไขเพิ่มเติม เรื่องการจัดการขยะพลาสติกปี 2564 โดยโรงงานไม่สามารถนำเข้า กักตุน แจกจ่าย จำหน่าย และใช้สิ่งของประเภทต่างๆ จากพลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง มีผล 1 กรกฎาคม 2565
ทั้งนี้กระทรวงสิ่งแวดล้อม ป่า และโลกร้อน ของทางอินเดียประกาศพลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง เช่น หูฟัง ลูกโป่ง ไอศกรีม และลูกอม ที่มีบรรจุภัณฑ์พลาสติกห่อหุ้ม รวมไปถึงธง และโฟม ที่ใช้สำหรับการตกแต่งจะถูกห้าม ใช้ในช่วงเวลาที่กำหนด สิ่งของประเภทพลาสติกที่มีความหนาของพลาสติกน้อยกว่า 100 ไมครอน อย่างเช่น จาน ถ้วย แก้วน้ำ และพลาสติกห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับกล่องขนมหวาน บัตรเชิญ และบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่ รวมไปถึงอุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหารประเภทใช้แล้วทิ้ง เช่น ช้อน ซ้อม มีด และถาดอาหาร จัดว่าเป็นสิ่งของประเภทต้องห้ามเช่นกัน
ต่อมาที่ประเทศจีน สั่งห้ามการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศในปี 2560 และเตรียมแบนการใช้พลาสติกทั่วทั้งประเทศภายในปี 2568 ส่วนฮ่องกง คาดว่าจะเริ่มเริ่มบังคับใช้ภายในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ก็จะเริ่มบังคับใช้เดือน ต.ค.66
ขณะที่ประเทศไทย เมื่อปี 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบประกาศห้ามใช้พลาสติก 4 ชนิด เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว อย่าง พลาสติกแบบบางน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบบางน้อยกว่า 100 ไมครอน และหลอดพลาสติก เพื่อให้เป็นไปตามโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ และตั้งเป้าในปี 2573 จะยกเลิกพลาสติกหุ้มฝาขวด