นักวิทยาศาสตร์ ผุดไอเดีย เล็ง ฟื้นคืนชีพ นกโดโด ที่สูญพันธุ์ไปเกือบๆ 400 ปีแล้ว ด้วยการ ผสมจีโนมหรือพันธุ์กรรมให้เข้ากับนกพิราบ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ มีแผนที่จะนำ นกโดโด (Raphus cucullatus) สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปเกือบ 400 ปีกลับมา ด้วยการแก้ไขยีน โดยจะนำจีโนมหรือพันธุ์กรรม ของนกโดโด ประกอบกลับเข้าไปในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับโดโด ซึ่งตามการจัดลำดับจีโนมแล้ว สัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับนกโดโดมากที่สุดคือ นกพิราบ นั่นเอง
ในอดีตที่ผ่านมา นกโดโด เดิมมีถิ่นที่อยู่ในมอริเชียส ประเทศที่เป็นเกาะนอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ โดยครั้งสุดท้าย ที่มีหลักฐานการพบเห็นนกโดโดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1662 หรือเกือบๆ 400 ปีที่แล้วเลยทีเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับ สาเหตุหลัก ของการสูญพันธุ์ ของ นกโดโด ก็คือการเข้ามาของชาวดัตช์ในช่วงปี 1600 ซึ่งได้เข้ามาตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ และการทำลายวิถีชีวิตของโดโดด้วยการนำสัตว์อื่นเข้ามาที่เกาะ ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าเศร้า น่าเจ็บปวดสำหรับ Keep The World ในอดีต
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่คิดจะฟื้นคืนชีพ นกโดโดก็คือ บริษัท Colossal Biosciences ซึ่งก่อนหน้านี้ ประกาศแผนคืนชีพให้กับแมมมอธขนดก (woolly mammoth) และ เสือแทสเมเนีย (Thylacinus) ด้วยวิธีลักษณะคล้ายกันมาแล้ว
ความตั้งใจในการฟื้นคืนชีพ และปลุกวิญญาณนกโดโดครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์จะทำงานกับไข่นกพิราบ และใช้สารพันธุกรรมจากนกพิราบที่ดัดแปลงยีนให้มีคุณลักษณะของนกโดโด รวมถึงคุณลักษณะการเป็นนกที่บินไม่ได้ด้วย
และด้วยวิธีการนี้ ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายในเชิงเทคนิค เนื่องจากยังไม่มีใครสามารถใช้การตัดต่อยีนนกด้วยวิธีนี้ได้มาก่อน