การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ได้เริ่มขึ้นแล้ว ปีนี้เป็นปีแห่งการสูญพันธุ์อีกปีก็ว่าได้ ดังนั้น Keep The World จึงได้รวบรวมข่าวสัตว์สูญพันธุ์ ที่เกิดขึ้นในปี 2022 มาให้อ่านกัน
ศตวรรษแห่งการสูญพันธุ์ได้เริ่มขึ้นแล้ว! นักวิชาการหลายคนออกมายืนยันข้อสันนิษฐานของตนเองเยอะมาก ถึงประเด็นความเสี่ยงในการสูญเสีย สปีชีส์สัตว์หลากหลายชนิดจาดทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์
แต่แม้ว่า เราจะมีรายงานการสูญพันธุ์หรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก แต่การรายงานไม่สามารถหยุดยั้งการถูกลบเลือนหายไปจากโลกครั้งใหญ่เหล่านี้ได้ เพราะไม่เกิดการลงมือทำที่ชัดเจน ซึ่งตอนนี้กำลังนำเราสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ของโลกแล้ว
การสูญพันธุ์ 5 ครั้งก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบล้านปีถึงหลายร้อยล้านปีก่อน และครั้งที่เกิดขึ้นล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว จากการที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มีดาวเคราะห์น้อยขนาดความกว้าง 6 ไมล์พุ่งเข้าชนโลก แถวเม็กซิโก จนทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ ฝนกรด และไฟป่า จากนั้นโลกก็ไร้แสงจากการถูกชั้นบรรยากาศปกคลุม อุณหภูมิโลกลดต่ำลง จนทำให้สิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักกันดีอย่างไดโนเสาร์ สูญพันธุ์ไปจากโลก
และตอนนี้ สิ่งเหล่านั้นกำลังจะหวนกลับมาอีกครั้ง แต่ต้นเหตุไม่ได้เกิดขึ้นจากการถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน แต่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เราเอง ดังนั้นบทความนี้ Springnews ในคอลัมน์ Keep The World จึงได้รวบรวมข่าวสิ่งแวดล้อมอันเกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นภายในปี 2022 นี้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
นักวิทยาศาสตร์ ได้เปิดเผยเมื่อเดือนสิงหาคมว่า พะยูนได้สูญพันธุ์ไปโดยปริยาย (Functionally Extinct) แล้วจากท้องทะเลจีน โดยมีต้นตอมาจากปัญหาทะเลเสื่อมโทรมจนส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหาร รวมถึงต้องเผชิญหน้ากับการล่าพะยูนในประเทศจีนด้วย
การประมงและการล่าสัตว์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พะยูนลดลง เพราะตั้งแต่ปี 1988 พะยูนได้รับการจัดประเภทให้เป็นสัตว์คุ้มครองแห่งชาติระดับสูงสุด และน่าเศร้ายิ่งขึ้นไปอีก เมื่อพบว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ไม่มีรายงานการพบเห็นพยูนในน่านน้ำจีนอีกเลย
อ่านเพิ่มเติม >>> พะยูนสูญพันธุ์ไปโดยปริยายจากจีนแล้ว ต้นตอจากทะเลเสื่อมโทรมและการล่า
กำลังกลายเป็นสัตว์ไร้บ้านถาวรแล้ว สำหรับหมีขั้วโลก รายงานจากรัฐบาลแคนาดาระบุว่า จากการสำรวจประชากรหมีขั้วโลกทั่วแคนาดา อันเป็นเมืองหลวงของหมีขาว พวกเขาพบว่าจำนวนของพวกมันกำลังลดลงจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะหมีตัวเมียและลูกหมี ที่อาจส่งผลต่อการขยายพันธุ์ของหมีในปีต่อ ๆ ไป
นักวิจัยคาดการณ์ว่า จากการสังเกตปรากฎการณ์การลดลงของประชากรหมีขาวเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของหมีขั้วโลก ละลายจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยทางเหนือสุดของโลกจะร้อนเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกถึงสี่เท่า แผ่นน้ำแข็งในทะเลมีความหนาน้อยลงและแตกเร็วขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและกลายเป็นน้ำแข็งในฤดูใบไม้ร่วง
อ่านเพิ่มเติม >>> "หมีขั้วโลก" กำลังกลายเป็นสัตว์ไร้บ้านถาวร ประชากรลดลง ผลพวงภาวะโลกร้อน
ในหมู่มวลของเพนกวินที่เรารู้จักทั้งหมดกว่า 18 สายพันธุ์ เพนกวินจักรพรรดิคือพี่ใหญ่ที่สุดของครอบครัวเพนกวิน ทั้งขนาดตัวที่สูงและใหญ่ถึง 1.1 เมตร น้ำหนักตัวมีมากกว่า 40 กิโลกรัม และอยู่กันเป็นครอบครัวอย่างสงบสุข แต่วันนี้ชีวิตของพวกมันได้เปลี่ยนไปแล้ว
น้ำแข็งทะเลบางส่วนของคาบสมุทรแอนตาร์กติกละลายไปมากกว่า 60% ภายใน 30 ปีที่ผ่านมาตามรายงานจากสถาบัน Woods Hole Oceanographic Institution ในแมสซาชูเซตส์ ดังนั้นบ้านของเพนกวินจักรพรรดิจึงถูกคุกคามหนักขึ้นเรื่อย ๆ กับการขาดแคลนบ้าน และการบีบคั้นให้ต้องลงน้ำเอาตัวรอด แม้ในน้ำจะเต็มไปด้วยศัตรูตัวฉกาจอย่างแมวน้ำเสือและวาฬเพชฌฆาตก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งละลาย
องค์กร US Fish and Wildlife Service จึงได้จัดหมวดใหม่ โดยระบุว่า เพนกวินจักรพรรดิ จะได้รับการคุ้มครองใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ESA (Environmental Site Assessment) ซึ่งประกาศที่ผ่านมานี้ผ่านการพิจารณามาอย่างยาวนานถึง 1 ปีกว่าเพนกวินจักรพรรดิจะได้การคุ้มครองอย่างเป็นทางการ
อ่านเพิ่มเติม >>> เพนกวินจักรพรรดิถูกขึ้นบัญชี สัตว์ใกล้สูญพันธุ์เรียบร้อยแล้ว!
การเปลี่ยนแปลงของแมลง หรือการลดลงของประชากรแมลง อาจทำหลายคนดีอกดีใจว่า จะได้ไม่มีแมลงมารบกวนหรือเป็นศัตรูพืชของมนุษย์แล้ว แต่ไม่ใช่เลย เพราะการหายไปหรือจำนวนที่ลดลงของประชากรแมลงนั้น ส่งผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง
ประชากรแมลงทั่วโลกกำลังลดลงในอัตราสูงถึง 2% ต่อปีเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางการตัดไม้ทำลายป่า การใช้ยาฆ่าแมลง มลภาวะจากแสงประดิษฐ์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การสูญเสียจำนวนแมลงอาจไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ส่งผลต่อ “สุขภาพของมนุษย์และความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียแมลงผสมเกสร”
ซึ่งพวกมันมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ แมลงหลายชนิดมีหน้าที่ผสมเกสรเพื่อให้พืชผลเจริญเติบโต หากไม่มีพวกมันการงอกงามของพืชผลก็จะไม่สมบูรณ์หรือเป็นธรรมชาติ
อ่านเพิ่มเติม >>> งานวิจัยชี้ ประชากรแมลงกำลังลดลงเกือบครึ่งหนึ่งทั่วโลก เกิดอะไรขึ้น?
นกพัฟฟิน หรือ นกพัฟฟินแอตแลนติก (The Atlantic puffin) เป็นนกที่อาศัยอยู่ในแถบยุโรปตะวันตก รายงานล่าสุดเตือนว่า หล่งวางไข่ของนกพัฟฟิน กำลังจะสูญหายไปภายในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน นั่นหมายความว่า พวกมันก็กำลังจะสูญพันธุ์ตามไปด้วย
ไม่เพียงแค่นกพัฟฟินเท่านั้น นกทะเลอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน มีการคาดการณ์ว่า นกเรเซอร์บิล (razorbills) และนกนางนวลอาร์กติก จะสูญเสียแหล่งเพาะพันธุ์ถึง 80% และ 87% ตามลำดับ เนื่องจากศักยภาพในการเข้าถึงอาหารลดลงและสภาพอากาศที่มีพายุยังคงอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ยากต่อการหาอาหาร และจะยากยิ่งขึ้นในเรื่องของการสืบพันธุ์
อ่านเพิ่มเติม >>> นกพัฟฟิน สัตว์ลำดับต่อไปที่เสี่ยงสูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ เกิดอะไรขึ้น?
ข่าวดีในโลกของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
เป็นเวลากว่า 20 ปีที่นกแก้วสปิกซ์มาคอว์ (Spix’s Macaw) ตัวสุดท้ายถูกพบเห็นในป่า และองค์กรบางแห่งก็ประกาศว่าพวกมันสูญพันธุ์และหายออกไปจากถิ่นป่าเดิมอย่างบราซิลตลอดกาล เรื่องราวของมันถูกเลือนหายไปตามกาลเวลา จนเราได้รู้จักพวกมันมากยิ่งขึ้นจากภาพยนต์แอนิเมชัน Rio (2011) การผจญภัยของ บลู นกมาคอว์เพศผู้ตัวสุดท้ายของบราซิล
มาวันนี้ พวกมันได้กลับมายังบ้านของพวกมันอีกครั้ง จากการอนุรักษ์ในโครงการช่วยเหลือระดับนานาชาติที่น่าทึ่ง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังจากภัยหลายด้านที่เรายังมองไม่เห็น การกลับมาครั้งนี้สร้างความหวั่นใจและดีใจในคราเดียวกันให้กับนักอนุรักษ์ เราทั้งดีใจที่พวกมันกลับมาเพื่อยืนยันและแสดงให้เราเห็นว่าพวกมันไม่ได้หายไป
อ่านเพิ่มเติม >>> นกแก้วมาคอว์สปิกซ์บินกลับเข้าป่าแล้ว หลังหายตัวไป 20 ปี
ในกรณีโลมาอิรวดี ที่ถูกจัดสถานภาพ endangered เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในระดับโลก (IUCN) ยังรวมถึง #14สุดท้าย ที่เหลืออยู่ในทะเลสาบสงขลาที่เสี่ยงมากๆๆ ต่อการสูญพันธุ์จากพื้นที่น้ำจืด 1 ใน 5 ของโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น ที่เรายังคงมีโลมาอิรวดีโลดแล่นไปมา
แต่ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นั้นมีมากเหลือเกิน เนื่องจากเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ดังนั้น พวกมันจึงถูกนำขึ้นโต๊ะประชุม นำโดย อาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอคณะกรรมการทะเลแห่งชาติ ให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์สงวน ซึ่งที่ประชุมก็เห็นชอบ
อ่านเพิ่มเติม >>> อาจารย์ธรณ์ประกาศข่าวดี โลมาอิรวดีกำลังได้เป็นสัตว์สงวนแห่งชาติแล้ว
เมื่อโลมาไม่อยู่เคียงคู่ธารา หลังโลมาอิรวดีตัวสุดท้ายจากไป บอกอะไรบ้าง?
ถ้าหากถามว่านกหัวขวานปากงาช้างนั้นหายากแค่ไหน ก็คงเปรียบได้กับการค้นหา Bigfoot หรือสัตว์ประหลาดล็อคเนสกระมัง อีกทั้ง เมื่อปีที่ผ่านมานี้เอง สหรัฐฯเพิ่งประกาศว่าพวกมันเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว หลังมีคนพบเห็นครั้งล่าสุดในปีค.ศ. 1944
แต่มื่อไม่นานมีนี้มีรายงานตีพิมพ์ผลงานวิจัยแต่ยังไม่สมบูรณ์ โดยมีเนื้อหาระบุว่าอยู่ในกระบวนการสังเกตและศึกษาพฤติกรรมอยู่ ว่าพบนกหัวขวานปากงาช้าง (ivory-billed woodpecker) บนผืนป่าของรัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา
อ่านเพิ่มเติม >>> คืนชีพอีกครั้ง! นักวิทย์พบนกหัวขวานปากงาช้างที่เคยประกาศสูญพันธุ์ไปแล้ว
วันที่ 6 กันยายน คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์สงวนเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ นกชนหิน (Rhinoplex Vigil) โดยจะได้เป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 20 ของไทยตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอขึ้นไป เนื่องจากนกชนหิน เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากประชากรนกลดลง จำเป็นที่จะต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด
นกชนหินเป็น ประเภทของนกเงือก 1 ใน 13 ชนิดของประเทศไทย มักอยู่อาศัยตามป่าดิบชื้นระดับต่ำในภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรไปจนถึงนราธิวาส ปัจจุบันนกชนหินในธรรมชาติเหลืออยู่น้อยมาก คาดไม่เกิน 100 ตัว ที่ยังอาศัยในป่า
อ่านเพิ่มเติม >>> ครม.อนุมัติ นกชนหิน เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของไทย
เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เต่ายักษ์กว่า 8,000 ตัวบนเกาะกาลาปากอสของเอกวาดอร์ไม่ได้อยู่ในสายพันธุ์ที่มีอยู่บนโลกนี้ อย่างเชโลนอยด์ (Chelonoidis chathamensis) เต่าบกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติกาลาปากอสได้แถลงผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่สรุปว่า เต่ายักษ์ที่อยู่บนเกาะซานคริสโตบัล (San Cristobal) แถวกาลาปากอสนั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกระบุว่าเป็นเต่าสายพันธุ์เชโลนอยด์ แต่ความสอดคล้องทางพันธุกรรมกับสายพันธุ์นั้นต่างกัน
อ่านเพิ่มเติม >>> เต่ากาลาปากอสกำลังจะกลายเป็นเต่าสายพันธุ์ใหม่