svasdssvasds

เช็กลิสต์! 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66

เช็กลิสต์! 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66

กฎหมายฉบับแรกของโลก กลางปี 66 อียูจะแบนสินค้านำเข้า 7 กลุ่มจากต่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า สินค้า 7 กลุ่มมีอะไรบ้าง?

สินค้าเหล่านี้ เป็นตัวการทำให้โลกร้อน เลิกนำเข้าเดี๋ยวนี้! กฎหมายใหม่จากอียู แถมยังเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ห้ามนำเข้าสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม และจะเร่มบังคับใช้กลางปี 2566 แล้ว

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ออกมาเผยความคืบหน้าการยกร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free product) ของสหภาพยุโรป (อียู) ที่ได้ประชุมร่วมกันกับ 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป

นางอรมน  ทรัพย์ทวีธรรม รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

จากการหารือและประชุมในครั้งนี้ ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นแล้วในการจะสั่งห้ามสินค้า 7 กลุ่มเข้าอียู เพราะเสี่ยงที่จะมีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่า เพราะทั่วโลกเริ่มแบนการใช้ทรัพยากรหรือสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว

โดยสินค้าทั้ง 7 กลุ่มจะมีดังนี้  

  1. วัวและผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์ที่มาจากวัว เช่นเครื่องในวัว เนื้อวัว หรือส่วนอื่นใดที่มาจากวัว
  2. ผลิตภัณฑ์กระดาตีพิมพ์
  3. ปาล์มน้ำมันและอนุพันธ์ของน้ำมันปาล์ม
  4. ถั่วเหลือง
  5. กาแฟ
  6. โกโก้
  7. ยางพาราและผลิตภัณฑ์

เช็กลิสต์! 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคระมนตรีแห่งสภาพยุโรปและรัฐสภายุโรปอย่างเต็มรูปแบบและเป็นทางการก่อน ก่อนที่จะเริ่มบังคับใช้ ซึ่งได้คาดการณ์ว่าจะเริ่มบังคับใช้จริง ๆ ประมาณเดือนมิถุนายน 2566 และมีการวางแผนรองรับเพิ่มเติมว่า หากกฎหมายนี้ได้ถูกบังคับใช้ไปแล้วเป็นเวลา 2 ปี จะต้องมีการทบทวนขอบเขตของสินค้าอีกครั้ง เพื่อนิยามการตัดไม้ทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม โดยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล

นอกจากนี้ หลังบังคับใช้ในช่วง 18 เดือนแรก คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปจะมีการจัดกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มีความเสี่ยงในการผลิตสินค้าที่อาจเชื่อมโยงกับการทำลายป่า โดยจะประเมินและจัดกลุ่มประเทศคู่ค้าออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ระดับความเสี่ยงสูง กลาง และต่ำ ซึ่งจะมีผลในการปฏิบัติต่อประเทศผู้นำเข้าในครั้งต่อไป และจะได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากประเทศนั้นมีประวัติการนำเข้าสินค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มระดับความเสี่ยงสูง

เช็กลิสต์ 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66 กฎหมายฉบับแรกของโลก

 

อียูได้กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่ได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า และประเทศผู้นำเข้าจะต้องจัดทำข้อมูล แสดงหลักฐาน หรือเอกสารเพื่อยืนยันว่า สินค้าไม่ได้ผลิตบนผืนที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่ามาก่อนในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ในความเป็นจริงมีบางกลุ่มเตรียมพร้อมสำหรับร่างกฎหมายนี้ไปบ้างแล้ว เช่น อุตสาหกรรมไม้ที่ได้เตรียมความพร้อมมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ อียู เริ่มประกาศใช้แผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and Trade: FLEGT) ร่วมกับประเทศผู้ผลิตไม้

โดยจะต้องได้รับการรับรองแหล่งที่มาของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ว่าได้มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ รวมถึงมีการจัดทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยควาสมัครใจ (VPA) กับประเทศผู้ผลิตไม้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ที่นำเข้ามานั้นผิดกฎหมายในตลาดอียู ซึ่งไทยและอียูได้เริ่มเจรจาจัดทำข้อตกลง FLEGT VPA เมื่อปี 2556

“การที่ อียูมีการออกกฎระเบียบว่าด้วยการห้ามการจำหน่ายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมายในตลาดอียู (EUTR : EU Timber Regulation) ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 เพื่อมาเสริอ มาตรการFLEGT ขจัดปัญหาการทำไม้ผิดกฎหมาย รวมถึงการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล ส่งผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมไม้ของไทย ต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดทำเอกสารแสดงสิทธิ์การใช้ที่ดินว่าไม่ได้บุกรุกป่า โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิประโยชน์บนที่ดิน และมีบทบาทสำคัญในการรับรองว่าการผลิตมีการรุกป่าหรือไม่ โดยได้มีการหารือและเตรียมการเรื่องนี้มาเป็นระยะแล้ว”

แต่อย่างไรก็ตาม ไทยมีการส่งออกสินค้าหลักไปยังอียู คือ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยในปี 2564 มูลค่าของการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ไปยังอีนูอยู่ที่ 1,693.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 8% ของการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลกส่วนไม้ไทยมีมูลค่าส่งออก 22.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 9% ของการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ วัวและผลิตภัณฑ์ ถั่วเหลือง โกโก้ และน้ำมันปาล์ม โดยไทยส่งออกไปอียูน้อย มีสัดส่วนต่ำกว่า 1% ของการส่งออกไปโลก

เช็กลิสต์ 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66 นั่นหมายความว่า บทบาทการส่งออกสินค้าไทยยังคงเป็นไปตามกลไกของตลาดและความต้องการทั่วโลกอยู่ หากประเทศไทยไม่ปรับตัว ตรวจสอบคุณภาพและที่มาของสินค้าที่ส่งออก ในอนาคตจะส่งออกสินค้าได้ลำบากมากขึ้น เพราะทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน

related