รู้ไหมว่าประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตัน/วัน มีทั้งขยะบกและในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีเพียง 233 คลอง จาก 1,980 คลองระบายน้ำ ที่อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ จึงทำให้การเก็บขยะไม่ครอบคลุมทุกที่
พื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะสูงถึง 10,000 ตัน/วัน โดยเฉพาะขยะในแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีคลองระบายน้ำ 1,980 คลองที่อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ 233 คลอง จึงทำให้การจัดเก็บขยะในลำคลองยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และอุปกรณ์บางส่วนชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ อย่าง การเก็บขยะในคลองลาดพร้าวเก็บเป็นประจำทุกวันวันละ 2 รอบ ด้วยการวางอุปกรณ์กักขยะในลำคลองของกรุงเทพมหานคร ที่มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร แล้วมีทางเชื่อมต่อยังคลองแสนแสบและคลองบางซื่อที่มีการจัดเก็บขยะโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ
หากไม่มีการจัดการขยะในแม่น้ำลำคลอง ขยะเหล่านี้ก็จะไหลลงสู่ทะเล ทำให้การบริหารจัดการยากขึ้น เนื่องจากขยะหากลงสู่ทะเลแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และการจัดการขยะในทะเลยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เป็นการบริหารจัดการขยะที่ดีที่สุด
การบริหารจัดการขยะ ควรแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ในส่วนของการจัดการขยะในแม่น้ำลำคลอง ควรให้ชุมชนเห็นถึงปัญหาและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการขยะ จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการลดขยะมากขึ้น มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไรที่ดำเนินการบริหารจัดการขยะ ฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากขยะ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
คิดอย่างไร? แคมเปญป๊อปคอร์น เอาอะไรไปใส่ก็ได้ สุดท้ายกลายเป็นขยะอาหาร
ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?
ขับเคลื่อนการกำจัดขยะมูลฝอยในระดับจังหวัด พร้อมร่วมสร้างคาร์บอนเครดิต
จัดการขยะในลำคลอง โดยมีชุมชนมีส่วนร่วม
เมื่อได้ขยะมาแล้วนำมาคัดแยกขยะ โดยก่อนจะคัดแยกขยะต้องนำขยะมาตากแดด 1-2 วัน จะมากน้อยแล้วแต่แสงแดดในแต่ละวัน หลังจากนั้นค่อยคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ทั้งรีไซเคิลได้และไม่ได้ ซึ่งขณะทุกประเภท หากเป็นขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ก็จะทำลายซึ่งไม่ใช่วิธีการฝังกลบ
มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทย ได้ร่วมมือกับเครือข่ายในสหรัฐอเมริกา ส่งขยะไปแปรรูปในต่างประเทศ ทำให้วงจรของขยะสมบูรณ์ เกิดเป็นกระบวนการรีไซเคิลอย่างแท้จริง ส่วนขยะที่ปนเปื้อนและไม่สามารถรีไซเคิลได้ ก็จะถูกส่งไปโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อไป ซึ่งในทุกกระบวนการจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ และยังมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ถึงการนำขี้เถ้าและสิ่งที่เหลือจากกระบวนการมาใช้ประโยชน์ต่อไป
แม้มูลนิธิเทอร์ราไซเคิลไทยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บและการจัดการขยะ แต่ในการดำเนินการจำเป็นต้องการระดมทุน และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อขยายผลการทำงาน เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งทาง The Incubation Network มีเครือข่ายในหลากหลายประเทศ และมีโครงการต่างๆ มากมาย ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้การทำงานของมูลนิธิฯ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาขยะ และสิ่งแวดล้อม