เมื่อ UN สหประชาชาติ ออกมา เปิดเผยรายงาน ประชากรโลกครบ 8,000 ล้านคนแล้ว เรื่องนี้ มันจะ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เปลืองทรัพยากรอย่างไรบ้าง และที่น่าสงสัย คือ ที่จริงแล้ว คนรายได้น้อย สร้างมลพิษ และทำให้โลกร้อน เท่าๆกับ คนรายได้สูง หรือคนชนชั้นกลาง ใช่หรือไม่ ?
นับเป็นเรื่องราวที่น่าโฟกัสฉายแสงสปอร์ตไลท์ให้กับประเด็นที่ สหประชาชาติ หรือ UN เปิดเผยรายงานว่า ประชากรทั่วโลกมีจำนวนเกิน 8,000 ล้านคนแล้ว ซึ่งใช้เวลาเพียง 11 ปี ในการเพิ่มจำนวนประชากรโลกจาก 7,000 ล้าน เป็น 8,000 ล้านคน และคาดว่าโลกจะใช้เวลาราว 15 ปี ในการเพิ่มจำนวนประชากรโลกเป็น 9,000 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จากการเพิ่มจำนวนประชากรมาแตะหลักไมล์ 8,000 ล้านคนในครั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจและน่าตั้งคำถามต่อมา คือ ผลกระทบจากประชากรที่เพิ่มขึ้น มีอะไรบ้าง ?
หากมองในมุมของประเด็น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หรือในมุม Keep The World , การเพิ่มของประชากรโลก เป็น 8,000 ล้านคน ย่อมส่งผลแน่นอน เพราะหากมองอย่างรียบง่ายที่สุด ประชากรเพิ่ม ย่อมต้องใช้ ทรัพยากรของโลกเพิ่ม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
UN คาดว่าอินเดียจะแซงหน้าจีน มีประชากรมาที่สุดในโลกในปี 2023
ประชากรโลกครบ 8 พันล้านคนแล้ว UN ชี้เสี่ยงวิกฤตทรัพยากรขาดแคลน
• ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
1.ปัญหาการขาดแคลนอาหารและทรัพยากร
ใช้หลักการทั่วไป พิจารณาดูว่า หากเมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากอาหารและทรัพยากรต่างๆ นั่นก็ย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ และก่อให้เกิดการขาดแคลนในบางประเทศที่กำลังพัฒนา
- หรือ การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้อาหารมีสารพิษปนเปื้อน หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ เพราะประเด็น Keep The World เป็นสิ่งที่โลกให้การจับจ้อง และเป็นเทรนด์ของโลก
2.ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นมาแตะหลัก 8,000 ล้านคน ย่อมมีโอกาสที่จะมีการขาดแคลนทรัพยากรเกิดขึ้นทำให้ต้องมีการบุกรุกป่าไม้ เพื่อที่จะหาทรัพยากร ทำให้เกิดการขาดพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมาก มีการปล่อยของเสียสู่ที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชากรโลก และ ทำให้สภาพอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และนั่นหมายถึง ภาวะโลกร้อน
3.ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนประชากรโลก แตะหลัก 8,000 ล้านคนนั้น จะทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยกรและการแข่งขันทางสังคมสูงขึ้นตามไปด้วย
ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่น การขาดการศึกษา สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดแคลนที่อยู่ และ ปัญหาการว่างงาน
อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่ง "ฟันธง" การเพิ่มประชากรของโลก จะเป็น ปัจจัยโดยตรง ที่ทำให้ โลกร้อน และ ใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น เพราะ ในอีกทางหนึ่ง การเพิ่มขึ้นของประชากร ไม่ได้เป็นตัวการที่ผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อย่างเดียว
หากแต่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการบริโภค (Consumption Levels) ที่ถีบตัวสูงขึ้นต่างหาก ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น”
โดยแนวคิดนี้ มาจาก เดวิด แซตเตอร์เวท David Satterthwaite จาก สถาบันสิ่งแวดล้อมและการพัฒนานานาชาติ ประเทศอังกฤษ ที่ ได้พยายามอธิบายให้เห็นถึงสาเหตุที่แท้จริง รวมทั้งมีประเด็นโต้แย้ง คือ
1. ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกหรือทำให้เกิดโลกร้อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะที่จริงแล้ว พวกเขามีระดับการบริโภคที่ต่ำมากเพราะกิจกรรมการบริโภคขึ้นกับรายได้ ในขณะที่จำนวนผู้บริโภคและระดับการบริโภค (ขึ้นกับรายได้) ต่างหากที่ทำให้เกิดโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญ
2. เดวิด แซตเตอร์เวท David Satterthwaite มีข้อโต้แย้งว่า ความรับผิดชอบต่อปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควรคิดคำนวนโดยขึ้นกับปริมาณของแต่ละบุคคล มากกว่าผลรวมของทั้งประเทศที่แยกเป็นภาคส่วนในการผลิต เพราะปริมาณการบริโภครายหัวของคนรวยและคนจนไม่เท่ากัน (คนจนปล่อยน้อย คนรวยปล่อยมาก)
3. หากพิจารณาการจัดการกับการเพิ่มขึ้นของประชากร การวางแผนครอบครัว จะสามารถลดความเปราะบางต่อผลกระทบของการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศ ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้ ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้คนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ถือเป็นงานเร่งด่วนเพราะจะเป็นประโยชน์มากต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจน การบริการในภาวะฉุกเฉินต่างๆ
• คนรายได้น้อย ไม่ได้ทำให้ "โลกร้อน" เท่าคนรายได้สูง ?
แม้จำนวนประชากรบนโลกดูเหมือนจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดภาวะกดดันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมาหาศาล แต่กลุ่มประชากรที่ยากจนหรือมีรายได้น้อย ในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา พวกเขากลับปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำมากเมื่อเทียบกับกลุ่มชนชั้นกลางขึ้นไปในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ดูเหมือนว่าในขณะที่สังคมโลกกำลังพยายามชี้ว่า การเติบโตของจำนวนประชากรจะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโลกร้อน แต่ถ้าหากว่าประชากรส่วนใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นประชากรในกลุ่มผู้ยากจนหรือมีรายได้น้อย ประเด็นที่ว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นตัวทำให้โลกร้อนก็คงจะตกไป แต่ ความจริงก็ คือ ปริมาณหรือระดับในการบริโภค (Consumption Levels) ต่างหาก เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น สะสมมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันนั่นเอง
ที่มา : indiaenvironmentportal