ขยะมูลฝอยถือหนึ่งในเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการทำแผน “จังหวัดสะอาด”ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการกำจัดขยะมูลฝอยในระดับจังหวัด
ให้ครัวเรือนจัดการกับขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก พร้อมร่วมสร้างคาร์บอนเครดิต
ปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เกิดจากการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขยะมูลฝอย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอย “จังหวัดสะอาด” โดยมีเป้าประสงค์ให้ทุกครัวเรือนได้รับการส่งเสริม และจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ซึ่งถือเป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ทุกจังหวัดดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยตามประกาศ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565 ขับเคลื่อนการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างยั่งยืน โดยในปัจจุบันสถานการณ์ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ เป็นผลมาจากจำนวนรถเท่าประชากร 10 ล้านคน 10 ล้านคัน
ขยะกระทง ปี 65 กทม. ปริมาณเพิ่มขึ้น ตัวเลข กระทงโฟม เพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ
โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ให้ทุกจังหวัดแจ้งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง สำรวจ และรายงานข้อมูลถังขยะเปียกลดโลกร้อนในระดับครัวเรือน ระดับโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระบบสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปประกอบการรับรองคาร์บอนเครดิต
ปัจจุบันมีครัวเรือนที่จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนแล้ว 2,716,651 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนประชากร 9,175,452 คน ทำให้มีปริมาณขยะเปียก ขยะมูลฝอยที่คัดแยกใส่ถังขยะเปียกลดโลกร้อน 843,958.07 ตัน/ปี