เศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอย่าง เศษผ้าไหม สามารถอัพไซเคิล (Upcycle) เป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้หลากหลายรูปแบบซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้ทรพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดปริมาณขยะ และยังสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ด้วย
สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำโครงการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากเศษผ้าไหมและสิ่งเหลือใช้มาอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากผ้าไหม (Upcycling Thai Silk Scarps) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีความเหมาะสมกับเศษผ้าไหม ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหมให้เข้ากับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำต้นแบบผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหมที่เพิ่มมูลค่า และเผยแพร่ผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหมเพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
สานต่อ JOIN: THE POWER OF CLOTHING ขยะในทะเลสร้างมูลค่า Upcycling เป็นเสื้อผ้า
เสื้อแจ็คเก็ตผ้าฟลีซจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% จากขวดพลาสติก
TOMMY HILFIGER เปิดโลก Multiverse บนรันเวย์ NYFW พร้อมเหล่า Virtual Model
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการอัพไซเคิล (Upcycle) เศษผ้าไหมเหลือใช้
- Eco on Earth กระเป๋าอัพไซเคิลผลิตจากวัสดุเส้นไหมผสมผสานกับพลาสติกชีวภาพ มีความแข็งแรง และยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Mong-Kol ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในภาคอีสานและสามารถนำมาใช้ในงานมงคล อีกทั้งคุณสมบัติการสะท้อนแสงเป็นเงางามผสมผสานกับวิธีการพับแบบ origami เพื่อให้เกิดการเข้าถึงได้ง่ายและความเป็นสมัยใหม่ ที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ให้กับโต๊ะหมู่บูชาได้
- Nang-Mai การนำเศษไหมที่มีความแวววาวเป็นเลื่อมนำมาสร้างพื้นผิว ขด ดัด ผูกและใส่ลวดมาประกอบสายยางเพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งยังคงเป็นการรักษาความสวยงามของเศษไหม และเกิดความแข็งแรงทนทานสามารถเข้าสู่กระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้
- เศษ 3 สี การนำขยะพลาสติกผสมผสานเศษผ้าไหม นำมาอัพไซเคิลได้มากขึ้น จากแรงบันดาลในของความเชื่อจิตวิญญาณและการเสียสละไหมเพื่อรังสรรค์เป็นผืนผ้า อีกทั้งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ด้วยมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ไว้ใช้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้
- Silk-Sa การนำเส้นไหมและกระดาษมารีไซเคิล โดยมีแนวคิดจากลวดลายของสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว มาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงบทบาทใหม่ๆ ของเส้นไหม เพื่อส่งเสริมคุณสมบัติความแข็งแรงให้กับกระดาษ มีความทนทาน และฉีกขาดได้ยากขึ้น
การสร้างมูลค่าเศษเหลือใช้จากไหมไทยนั้นสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นชิ้นงานที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดได้ โดยจะรวบรวมเศษผ้าไหมเหลือใช้จากการตัดเย็บจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และได้รับความอนุเคราะห์เศษเส้นไหมเหลือใช้จากบริษัท จุลไหมไทย จำกัด และทดลองทำแบบร่างและต้นแบบของผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลจากเศษผ้าไหม
หากใครสนใจนำเศษผ้าไหมมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม โทรศัพท์ 0 2558 7924-6 ต่อ 7229 หรือ 7220