ทำความรู้จัก Blocking Pattern ปรากฏการณ์ลมหนาวแบบฉับพลันทั่วยุโรป และนอกจากนี้ ในอนาคต จะต้องเจอกับ ปรากฏการณ์ลานีญา อีกด้วย ดังนั้น เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแน่นอน
อากาศที่หนาวเย็นในไทย ณ เวลานี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการที่ มีความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศลาวตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ปกคลุมประเทศไทย ซึ่งในเวลานี้ ในขณะเดียวกัน ในอีกซีกโลกหนึ่ง ก็กำลังจะเจอเหตุการณ์คล้ายๆในไทย และอาจมีความรุนแรงมากกว่า โดยอากาศเย็นแบบฉับพลันกำลังจะเกิดขึ้นที่ยุโรป โดยปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า “Blocking Pattern”
• ปรากฏการณ์ “Blocking Pattern” คืออะไร
คำถามสำคัญคือ เหตุการณ์ที่มีชื่อเรียกว่า “Blocking Pattern” คืออะไร ? หากอธิบายแบบง่ายที่สุดคือ ปรากฏการณ์ลมหนาวแบบฉับพลันทั่วยุโรป แต่โดยรวมแล้ว คาดว่าอุณหภูมิของยุโรปในช่วงฤดูหนาวปีนี้อาจสูงกว่าระดับเฉลี่ย โดยเรื่องนี้นั้น มีคำอธิบายเหตุการณ์ มาจาก คาร์โล บูออนเทมโป แห่งศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางของยุโรป (European Center for Medium-Range Weather Forecasts)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ในยุโรป มีโอกาสเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Blocking Pattern ที่อาจนำไปสู่ความเย็นและลมหนาวแบบฉับพลันทั่วยุโรปได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดอุณหภูมิเยือกแข็งแบบคงที่ โดยปรากฎการณ์นี้ มีโอกาสเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม 2022
โดย ศูนย์พยากรณ์อากาศฯ ไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่นอนว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือช่วงระยะเวลาเกิด Blocking Pattern ของความกดอากาศสูงใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์หรือยาวนานกว่านี้ โดยปรากฏการณ์นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ที่ไหนในโลก
• ยุโรปต้องเจอกับลานีญา
นอกจากเหตุการณ์ Blocking Pattern แล้ว , ปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งเกิดขึ้นในปีนี้ จะมีผลให้ช่วงหลังของฤดูหนาวในยุโรปมีอุณหภูมิสูงขึ้น และความชื้นเพิ่มขึ้น จากลมที่พัดมาจากทางตะวันตก
ศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางแห่งยุโรป หรือ ECMWF ใช้ข้อมูลจากสำนักงานอุตินิยมวิทยาทั่วยุโรปในการพยาการณ์สภาพภูมิอากาศ โดยใช้ตัวบ่งชี้ เช่น อุณหภูมิในมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศ ตลอดจนความเร็วลมในชั้นบรรยากาศ ในการคำนวณ ซึ่งมีแความแม่นยำในระยะกลางมากกว่าในระยะสั้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เชื่อว่า ยุโรปจะสามารถผ่านความยากลำบากจากการถูกตัดการขนส่งก๊าซธรรมชาติของรัสเซียในฤดูหนาวปีนี้ได้ ซึ่งการตัดการขนส่งก๊าซ ก็มาจาก สงครามรัสเซีย - ยูเครน หากอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่หากอุณหภูมิหนาวเย็นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยราวร้อยละ 10 จะสร้างปัญหาอย่างมากต่อระบบพลังงานของยุโรปโดยรวม
เมื่อรวบรวมจะเห็นได้ว่า ผู้คนในยุโรป ก็ไม่ต่างจากทั่วทุกมุมโลก ที่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยหลักการที่คนทั่วโลก สามารถรับมือกับอาการแปรปวนได้แบบง่ายที่สุดคือ 5 วิธีรับมือในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เมื่ออากาศเย็นควรใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คนที่มีโรคประจำตัว ควรทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการของโรคเดิมให้ปกติ
ที่มา https://www.euronews.com/next/2022/10/15/ukraine-crisis-energy-eu-weather