svasdssvasds

นักวิจัยพบ ไมโครพลาสติกในน้ำนมแม่กว่า 76% จากกลุ่มตัวอย่าง

นักวิจัยพบ ไมโครพลาสติกในน้ำนมแม่กว่า 76% จากกลุ่มตัวอย่าง

ไมโครพลาสติกในน้ำนม ที่นักวิจัยตรวจพบนี้มีสูงถึงกว่า 76% จากกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูล ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ รวมถึงเครื่องอำสางบางชนิด

การตรวจพบในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยที่ได้เผยแพร่ ตีพิมพ์ในวารสารของ Journal Polymers โดยหนึ่งในทีมผู้ศึกษา ดร.Valentina Notarstefano ได้กล่าวว่า การตรวจพบไมโครพลาสติกในน้ำนมแม่นี้มีความเสี่ยงสูงต่อประชากรทารกในปัจจุบันจนเป็นที่น่ากังวลใจอย่างมาก 

หลังจากนี้จึงต้องมีการประเมินเพื่อหาวีธีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำนมในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และระหว่างการให้นมบุตร แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นก็มีมากกว่าข้อเสียที่จะเกิดจากไมโครพลาสติกในน้ำนม

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by The Guardian (@guardian)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยดังกล่าวได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างนมแม่จากกลุ่มตัวอย่างคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง จำนวน 34 คนในกรุงโรม ซึ่งเป็นตัวอย่างเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากคลอด พบว่า มีไมโครพลาสติกปนอยู่ในตัวอย่าง 26 คน หรือคิดเป็น 76% 

ซึ่งในช่วงระหว่างการเก็บตัวอย่างงานวิจัยมีการจดบันทึกอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางสุขอนามัยส่วนบุคลที่ผลิตมาจากพลาสติกเช่นเดียวกันแต่ไม่พบความเชื่อมโยงกับไมโครพลาสติกที่ตรวจพบในน้ำนมแม่ จึงทำให้ตระหนักได้ว่ามีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราอย่างแพร่หลาย จนถึงในระดับที่ไม่ว่าจะสัมผัสใดของมนุษย์ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยง
 

โดยในไม่กี่ปีที่ผ่าน ก็มีการตรวจพบไมโครพลาสติกในร่างกาย เช่น ในปี 2020 ตรวจพบในรกเด็ก หรือ ไมโครพลาสติกในเลือด และสิ่งที่มนุษย์บริโภคอยู่เป็นประจำ เช่น นมวัว และขวดโพรพิลีนที่มักใช้ในการป้อนนมทารก

ทั้งนี้ยังไม่มีการเผยแพร่ผลกระทบที่ไมโครพลาสติกมีต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ออกมาอย่างชัดเจน ยกเว้นผลกระทบที่เป็นพิษในระดับเซลล์ของมนุษย์ สัตว์ทดลอง รวมทั้งในสัตว์ทะเล เป็นต้น  

จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า ในไมโครพลาสติกประกอบด้วยโพลิเอทิลีน โพรพิลีน และโพลีไวนิลคลอไรด์ ซึ่งมักใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก โดยกล่าวว่าอาจมีอนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 2 ไมครอนที่ทีมวิจัยไม่สามารถทำการวิเคราะห์ได้อยู่ในน้ำนมแม่

แม้ทีมวิจัยจะยังไม่สามารถระบุบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับน้ำนมแม่และไมโครพลาสติกได้ ดร.Valentina Notarstefano ได้แนะนำคุณแม่ว่า ควรให้ความสำคัญกับอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคในแต่ละวัน โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ และเครื่องสำอางที่มีไมโครพลาสติก

ดร.Valentina Notarstefano กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ต้องการให้สร้างความตระหนกและทำให้คุณแม่เลี่ยงการให้น้ำนมแก่บุตร แต่เป็นการสร้างความตระหนักในสังคมเพื่อเป็นการกดดันให้นักการเมืองผลักดันกฎหมายที่ลดการก่อมลพิษในอนาคต

ที่มา

theguardian.com

webmd.com

related