ขณะนี้นานาประเทศทั่วโลกได้มีเป้าหมายเดียวกันคือการมุ่งสู่ Net Zero และประเทศไทยเองก็กำลังเดินหน้าลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อตอบรับนโยบายของประเทศและของโลก เป้าหมายเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
สำหรับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ตั้งเป้าเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG emissions) ให้เร็วกว่า ปี ค.ศ. 2065 ซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศไทยประกาศไว้ โดยภายในปีนี้ กลุ่ม ปตท. มีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจในแผนปฏิบัติการ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการลงทุนระยะยาว ทิศทางกลยุทธ์ ตลอดจนแผนวิสาหกิจเพื่อเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนตํ่าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
กลยุทธ์มุ่งสู่ Net Zero 3P (3P Decarbonization Pathway) กรอบแนวทางในการดำเนินงานของ ปตท.
-Pursuit of Lower Emissions
ปตท. ต้องใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด กำหนดเป้าหมายระยะสั้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% จากปี 2020 ภายในปี 2030 ด้วยการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การนำเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) มาใช้, การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ (CCU) การใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต และการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ควบคู่กับก๊าซธรรมชาติ
-Portfolio Transformation
กลุ่ม ปตท. ได้ปรับธุรกิจพอร์ตธุรกิจ โดยที่ผ่านมาพลังงานทั้งโลกที่คนไทยใช้อยู่คือ ฟอสซิล ถ่านหิน และแก๊สฯ เมื่อประสบปัญหาโลกร้อนจึงต้องปรับธุรกิจฟอสซิล ดังนั้น ปตท. ได้ปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนในพลังงานทดแทน เข้ามาในพอร์ตธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้นภายในปี 2030 รวมทั้งยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน
นอกจากนี้ ปตท. ได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่ “Powering life with Future Energy and Beyond” ได้ขับเคลื่อนธุรกิจ EV Value Chain โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทำให้ตัว Energy กลุ่มไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทนมีตลาดมากขึ้น โดยได้มีการจัดตั้ง บริษัท อรุณ พลัส มาลงทุนใน EV ที่ครบวงจร เช่น การลงทุนในเรื่องของแบตเตอรี่ สถานีชาร์จ โรงงานผลิตรถ EV และ Eco System ของอีวี นอกจากนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนทั้งประเทศได้ใช้รถ EV กลุ่ม ปตท. จึงได้เปิดบริการเช่ารถ EV เพื่อทดลองขับผ่านแอปพลิเคชัน EVme สามารถเข้าไปใช้งานเช่ารถ EV ได้หลายรุ่น หลายยี่ห้อในระยะเวลา 3 วัน 5 วัน 7 วัน หรือ 1 เดือน เป็นต้น ถือเป็นการส่งเสริมธุรกิจอีวีในประเทศไทยเกิดขึ้นด้วย
-Partnership with Nature and Society
ปตท. ได้เพิ่มปริมาณดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกและบำรุงรักษาป่าไม้ รวมถึงพื้นที่สีเขียวต่างๆ ทั่วประเทศร่วมกับภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเวลากว่า 10 ปีที่ ปตท. ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ อีกทั้งยังมีการตั้งศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับป่าอีก 3 ศูนย์ คือ ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง และศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง กรุงเทพฯ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ในการปลูก ดูแลป่า และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจุดเด่นแตกต่างกันในแต่ละศูนย์
นอกจากที่ปลูกสำเร็จไป 1 ล้านไร่ ปตท. ยังมีแผนจะปลูกเพิ่มป่าอีก 2 ล้านไร่ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม และคาดว่าจะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เพื่อสร้างความมั่นใจว่ากลุ่ม ปตท. จะช่วยประเทศตามที่มีการประกาศ Position ไปแล้วในเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนปี ค.ศ. 2050 ดังนั้น ปตท. จะเป็นอีกแรงในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
มุ่งสู่ธุรกิจพลังงานอนาคต และเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน
ทิศทางการเติบโตของ ปตท. ซึ่งมุ่งสู่พลังงานอนาคต ได้มีการดำเนินการไปแล้ว อย่าง Renewable, Energy Storage, EV Chain และศึกษาโอกาสใน Hydrogen นอกจากนี้ ปตท. ยังคงมองหาโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีแนวโน้มเติบโต หรือมีศักยภาพในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยได้จัดเตรียมแผนลงทุนระยะยาวใน Future Energy and Beyond ด้วยงบประมาณกว่า 32% เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ