ปตท. ยึดหลัก SAS (1.ความมั่นคงทางด้านพลังงาน 2. ราคาสมเหตุสมผล และ 3. ความยั่งยืน) สร้างความมั่นคงพลังงาน ชูนวัตกรรม สร้างพลังงานทดแทน ซึ่งจะกลายเป็นเทรนด์พลังงานแห่งอนาคต พร้อมแข่งขันบริษัทระดับโลก ในราคาที่สมเหตุสมผล รวมถึงสร้างประโยชน์เศรษฐกิจของไทย
งาน NEW ENERGY : แผนพลังงานชาติ สู่ความยั่งยืน จัดโดยหนังสือพิมพ์”ฐานเศรษฐกิจ”ภายใต้หัวข้อ “การขับเคลื่อนพลังงานสะอาดด้วยนวัตกรรม” นายบุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานว่ าปตท. มีแนวทาง ยึดถือความมั่นคงทางด้านพลังงาน ในอดีตเราอาจพูดถึงการมีพลังงานที่เพียงพอใช้ แต่ในมิติใหม่ เรามอง 3 มิติ หรือ SAS คือ Security หรือความมั่นคงทางด้านพลังงาน, Affordable ราคาสมเหตุสมผล และ Sustainability หรือความยั่งยืน
โดย Security ต้องมีความพร้อมหากมีความต้องการ Affordable ราคาที่ใช้ต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโต Sustainability จะทำให้โลกดีขึ้นอย่างไร ในช่วงการเปลี่ยนแปลง ปตท. ยึดหลักตรงนี้เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุล เมื่อเกิดวิกฤตพลังงาน เราต้องผ่านพ้นวิกฤต ไปได้
ในเรื่องพลังงาน ไทยมีพลังงานเพียงพอ ไม่ได้ขาดแคลนพลังงาน แต่ไทยใช้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในการนำเข้าพลังงาน หรือเกือบ 80% ของพลังงานที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในเรื่องราคา ในช่วงโควิด ราคาน้ำมันถูกลงมา ช่วงหลังโควิด มีการใช้งานมากขึ้น ราคาน้ำมันสูงขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่วนเรื่องของพลังงานทดแทน อย่างก๊าซธรรมชาติ ปตท.ทำมานาน ต้องบอกว่าเรามีเสถียรภาพเพราะว่ามีปริมาณมากและก็มีราคาที่ค่อนข้างต่ำ แต่พอเกิดสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น อย่างไรก็ตามก็ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางด้านพลังงานทดแทนขึ้นมา อย่างเช่น ไฮโดรเจน
“พลังงานสะอาดที่เราจะมาแทนคือการใช้นวัตกรรมไปในรูปแบบของไม่ว่าจะเป็นพลังงานทดแทนหรือระบบจัดเก็บพลังงานต่างๆ เรื่องไฮโดรเจน และ EV แวลูเชน และก้าวไปทำธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ Life Science โมบิลิตี้ โรโบติกส์”
นายบุรณิน รัตนสมบัติ กล่าวต่อไปอีกว่า ปตท.เดินยุทธศาสตร์ที่ทำให้สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติระดับโลก และประชาชนสามารถเชื่อใจได้ว่าให้บริการพลังงานในราคาที่เหมาะสม ขณะที่พลังงานทดแทน สามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศได้