คลื่นความร้อนโจมตีหลายประเทศหนัก Springnews ชวนย้อนดูอดีต โลกของเราเคยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดไว้ที่เท่าไหร่บ้าง มีที่ไหน และวัดได้เท่าไหร่ จะร้อนขนาดไหน ไปดูกัน
หลายประเทศเผชิญอากาศร้อนจัดหลายแห่ง อุณหภูมิสูงจนทำให้หลายพื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นมาก ๆ แห้งแล้ง บ้างก็ขาดแคลนน้ำ บ้างก็ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย บ้างก็ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ และหลายพื้นที่อุณหภูมิปีนี้ก็ทุบสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบหลายร้อยปีเลยทีเดียว
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้คลื่นความร้อนรวน และบางส่วนก็เป็นอยู่แล้วตามฤดูกาล แต่เมื่อเกิดอากาศร้อนแบบนี้เคยสงสัยไหมว่า บนโลกนี้มีพื้นที่ไหนมีอุณหภูมิสูงสุดบ้าง สถิติของอุณหภูมิสูงสุดคือเท่าไหร่ ร้อนขนาดไหน
การวัดอุณหภูมิที่มีอยู่ทั่วโลกได้นั้น ผู้ตรวจวัดสถิติอย่างเป็นทางการคือ WMO หรือ World Meteorological Organization (องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก) และนี่คือรายการการบันทึกสภาพอากาศอันดับสูงสุดของประเทศที่เผชิญกับอุณหภูมิที่สูงที่สุด
การบันทึกสภาพอากาศเหล่านี้ถูกวัดภายใต้สภาวะเฉพาะ เช่น อุณหภูมิพื้นผิวและความเร็วลม เพื่อให้การวัดทั่วโลกมีความสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ช้ก่อนจะมีสิ่งประดิษฐ์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่หรือใช้ในพื้นที่ห่างไหลที่ไม่มีสถานีตรวจอากาศอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้รายการเหล่านี้ไม่รวมการสังเกตจากระยะไกล เช่น การตรวจวัดจากดาวเทียม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คลิปธารน้ำแข็งเทือกเขาแอลป์ถล่ม เซ่น 7 ชีวิต ผลพวงจากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น
อิตาลีเจอภัยแล้งรุนแรงที่สุดรอบ 70 ปี : ปัญหา Climate Change ทำพิษ
ปารีสเจออากาศร้อนเร็วสุด รอบ 75 ปี ส่วนหนึ่งมาจาก Climate Change
ทำไม Death Valley ถึงอณหภูมิสูงที่สุด?
พื้นที่ที่ร้อนที่สุด คือ พื้นที่ของศูนย์นักท่องเที่ยว Furnace Creek ของอุทยานแห่งชาติ Death Valley, California สหรัฐอเมริกา ซึ่งวัดได้ถึง 56.7 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 1913 ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขทางการและกลายเป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์โลก
ศาลได้ตรวจสอบบันทึกนี้อย่างละเอียดและหาเหตุผลของอุณหภูมิที่สูงนี้ ศาลตั้งจ้อสังเกตว่า อุณหภูมินี้อาจเป็นผลมาจากพายุทรายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น พายุดังกล่าวอาจทำให้วัสดุพื้นผิวที่มีความร้อนสูงเกินไปกระทบกับอุณหภูมิในที่พักพิง
เคยมีที่ที่ร้อนกว่า?
ในความเป็นจริง เคยมีบันทึกก่อนหน้านี้ที่ El Azizia ประเทศลิเบีย เคยบันทึกไว้ได้ 58 องศาเซลเซียส ซึ่งได้รับการตรวจสอบในปี 2010-2012 โดยคณะกรรมการอุตุนิยมวิทยาโลกของ Climateology (CCI) คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาระดับนานาชาติได้ทำการตรวจสอบเชิงลึกเกี่ยวกับสถิติโลกที่มีมายาวนานของ 58 องศาเซลเซียสซึ่งตอนนั้นได้รับขนานนามว่าเป็นอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงที่สุดของดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1922
การตรวจสอบนี้ใช้คณะกรรมการสอบสวนและผู้เชี่ยวชาญเยอะมาก ทั้งจากลิเบีย สเปน อิตาลี อียิปต์ ฝรั่งเศส โมร็อกโก อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร พวกเขาได้ระบุข้อกังวลหลัก 5 ข้อกับบันทึกดังกล่าว ดังนี้ เครื่องมือวัดที่มีปัญหา ผู้สังเกตการณ์ที่ไม่มีประสบการณ์ สถานที่สังเกตการณ์ซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนของสภาพแวดล้อมทะเลทราย การจับคู่กับตำแหน่งใกล้เคียงไม่ดี และอุณหภูมิที่ผิดเพี้ยนจากการอ่านค่าผิด หลังจากนั้นสถิติดังกล่าวก็ถูกถอดถอนออกอย่างเป็นทางการ
สถิติประเทศไทยล่ะ?
จากชุดข้อมูลดังกล่าว ประเทศไทยเคยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดอย่างเป็นทางการโดย WMO ไว้ที่ 44.6 องศาเซลเซียส ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2016
อากาศร้อนมากแบบนี้ส่งผลอย่างไรบ้าง?
แน่นอน อากาศร้อนก็เป็นที่ชื่นชอบของบางคนโดยเฉพาะชาวต่างชติ แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อากาศร้อนของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ร้อนแถบเอเชียบ้านเราจะเป็นลักษณะของร้อนชื้น ที่แม้อากาศร้อนก็ไม่ก่อให้เกิดการแสบผิวมากนัก เหมาะแก่การอาบแดดหรือการอยู่กลางแจ้งนานได้ แต่ทางที่ดี ไม่ควรอยู่นานเกินไปเนื่องจาก ประเทศเขตศูนย์สูตรแบบเราก็มีค่ารังสียูวีที่รุนแรง ตากแดดนานๆอาจส่งผลเสียหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาวะกระหาย เป็นลมแดด หรืออาการแสบผิว หากไม่ทาครีมและตากแดดบ่อย นานวันอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
แต่สำหรับต่างประเทศ อย่างแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ หรือประเทศแถบอบอุ่น ความร้อนของพื้นที่เหล่านี้จะเป็นร้อนแห้ง ที่ถ้าเผชิญกับแสงแดดแรงๆจะแสบและผิวหนังจะขึ้นผื่นแดงได้เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งกว่า ร้อนชื้นบ้านเรา อากาศแห้ง แสงแดดก็แรงขึ้น และสามารถเกิดผลกระทบต่อร่างกายเหมือนไทยได้เช่นกัน เพิ่มเติมคือ ผิวหนังอาจเผชิญอาการที่รุนแรงกว่า
ที่มาข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_weather_records#cite_note-meteofranceasia-47