svasdssvasds

กินดี มีประโยชน์ เมื่อเด็กเรียนออนไลน์ เสี่ยงโรคอ้วน

กินดี มีประโยชน์ เมื่อเด็กเรียนออนไลน์ เสี่ยงโรคอ้วน

ผู้ใหญ่หลายคนมักจะคิดว่า “เด็กอ้วน” คือเด็กน่ารัก น่ากอด แต่หารู้ไหมว่าความน่ารักที่มาจากความอ้วนนั้นอาจไม่เป็นผลดีเท่าไรนัก เพราะถ้าปล่อยให้เด็กอ้วนต่อไปเรื่อย ๆ ในระยะยาวจะมีปัญหาสุขภาพมากมายตามมา

กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เด็กวัยเรียน อายุตั้งแต่ 6-14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2563 เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนถึงร้อยละ 12.50 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

fat

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพของเด็ก ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะการกิน การเล่น หากไม่มีการจัดการที่ดี เด็กจะกินอาหารที่มีไขมันสูง ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลม ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้นตลอดทั้งวัน รวมทั้งขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือขยับเขยื้อนร่างกายน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กและเกิดภาวะอ้วนตามมาได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไปต่ออย่างไร เมื่อ “เรียนออนไลน์” ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด

เรียนออนไลน์ ปัจจัยหลักที่ทำเด็กไทยเนือยนิ่ง

เรียนออนไลน์ จุดสำคัญคือ พ่อแม่ เติมเต็มในสิ่งที่ลูกขาดหายไปได้อย่างไร

อาหารที่ดีต่อลูก

  • จัดอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ไม่ติดมัน ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง ผักผลไม้ น้ำมันพืช
  • จัดอาหารที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินดี สังกะสี และซิลีเนียม เช่น ผักคะน้า พริกหวาน ชะอม หอมหัวใหญ่ ผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะละกอ กล้วย มะปราง มะขามป้อม เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ตับ ปลาทู ปลา กุ้ง ไข่ไก่ ไข่เป็ด
  • ส่งเสริมให้เด็กได้กินผักผลไม้หลากหลาย ทุกวันๆ ละ 300-400 กรัม (อนุบาล 175 กรัม/วัน ประถมศึกษา 350 กรัม/วัน มัธยมศึกษา 400 กรัม/วัน หรือ มื้อละ 1-2 ทัพพี) ตามวัยของเด็ก เพื่อเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ
  • หลีกเลี่ยงการใช้อาหารสำเร็จรูป การเติมผงชูรส ผงปรุงแต่งรส อาหารที่มีสีฉูดฉาด กรณีหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ควรเพิ่มไข่ เลือด ตับ ผักใบเขียว เพื่อเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นจำพวกโปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินเอ รวมทั้งแนะนำให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวันในการปรุงประกอบอาหาร
  • ปลูกฝังการกินอาหารรสจืด ไม่หวาน มัน เค็ม ไม่เติมน้ำปลา/น้ำตาลเพิ่มในอาหาร และส่งเสริมการดื่มน้ำสะอาด และนมรสจืด

 

related