ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นไม่สามารถหาทางออกได้ในสถานการณ์ที่กดดันทางอารมณ์อย่างรุนแรง จำเป็นต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ
1. ชอบพูดเปรยๆหรือระบายความรู้สึกผ่านสังคมออนไลน์ว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่มีใครรัก ไร้ค่า ไม่มีใครสนใจ
2. เดินทางไปเยี่ยมคนรู้จักโดยที่ไม่เคยทำมาก่อนเหมือนไปบอกลา
3. แยกตัวไม่พูดกับใคร สีหน้าเศร้าหมอง ซึมเศร้า
4. มีการแจกจ่ายของรักของหวง พูดจาฝากฝังคนข้างหลัง ทำพินัยกรรมในเวลาที่ยังไม่สมควร 5.ติดเหล้าหรือใช้ยาเสพติดหนักในช่วงนี้
6. ทรมานจากการเจ็บป่วยเรื้อรังจนต้องพึ่งยารักษาเป็นประจำ
7. นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
8. ประสบปัญหาชีวิตเช่น ล้มละลาย สูญเสียคนรักกะทันหัน เป็นโรคเรื้อรัง พิการจากอุบัติเหตุ
9. มีอารมณ์ดีขึ้นอย่างกะทันหันตรงกันข้ามกับที่ผ่านๆมา ซึ่งเป็นช่วงอาจแสดงว่าเขารวบรวมความกล้าและตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะฆ่าตัวตาย
ทางด้านนายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิตกล่าวว่า การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นไม่สามารถหาทางออกได้ในสถานการณ์ที่กดดันทางอารมณ์อย่างรุนแรง จำเป็นต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ จึงขอให้ญาติหรือผู้ที่ดูแลผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแล้วแต่ไม่สำเร็จซึ่งมีปีละกว่า 48,000 คน ไม่ว่าจะรู้สึกโกรธหรือผิดหวังในตัวผู้กระทำแค่ไหนก็ตาม ควรให้อภัย หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ขอให้เข้าไปพูดคุยซักถามถึงความคิดฆ่าตัวตาย ด้วยท่าทีที่อ่อนโยน จริงใจ จะช่วยผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายคลายความกังวล รู้สึกผ่อนคลายและเข้าใจตัวเองดีขึ้น จะเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำได้ จากการศึกษาของกรมสุขภาพจิตพบว่าจะสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้มากถึงปีละ 400 คน
“สำหรับประชาชนทั่วไป การดูแลจิตใจซึ่งกันและกัน ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอย่างสม่ำเสมอ รับฟัง ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีกำลังมีปัญหาอย่างใสใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถช่วยคนให้พ้นจากห้วงของความทุกข์ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเรียนมาทางด้านนี้ก็ได้ หากยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ แนะนำให้โทรปรึกษาขอความช่วยเหลือได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง