หลายคนอาจกังวลกับสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมา และยังคงดำเนินอยู่ หรืออาจกลัวโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่อีกปัญหาสุขภาพที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม คือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมามีปริมาณเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสะสมในระยะยาว หากได้รับอย่างต่อเนื่อง
แพทย์หญิงพัชนี แสงถวัลย์ อายุรแพทย์สาขาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ โรงพยาบาล
ไทยนครินทร์ อธิบายถึงผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รับปริมาณฝุ่น PM 2.5 ว่า
“ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 คืออนุภาคฝุ่น มีขนาดน้อยกว่า 2.5 ไมครอน มีการกำหนดค่ามาตรฐานในบรรยากาศ คือ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร”
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมฝุ่นจิ๋วนี้ถึงไม่หายจากประเทศไทย ต้องแยกก่อนว่า สาเหตุของฝุ่นมีแหล่งกำเนิดมาจาก 2 แหล่ง คือ
ปัจจัยที่ทำให้ PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน คือ ยังคงมีแหล่งสร้างมลพิษทางอากาศซึ่งเรายังไม่สามารถควบคุมให้ปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งที่มาเหล่านี้ลดลงได้ รวมถึงสภาพความกดอากาศต่ำ ทำให้การเคลื่อนย้ายของฝุ่นมลภาวะทางอากาศไม่ถ่ายเทออกไปโดยง่าย” จากแหล่งที่มาเหล่านี้ลดลงได้ รวมถึงสภาพความกดอากาศต่ำ ทำให้การเคลื่อนย้ายของฝุ่นมลภาวะทางอากาศไม่ถ่ายเทออกไปโดยง่าย”
ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไประยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ เช่น
“ทุกคนทุกวัยมีความเสี่ยงต่อฝุ่น PM 2.5 ดังนั้น ควรป้องกันการรับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายกันทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ ฯลฯ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี”
บทความโดย
พญ.พัชนี แสงถวัลย์ แพทย์ประจำสาขาโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์