Ableism เป็นพฤติกรรมการเหยียดและกีดกันผู้พิการ ด้วยการแสดงออกเป็นคำพูด คอมเมนต์ ที่ดูแคลน ด้อยค่า ความสามารถ รวมไปถึงการแบ่งแยกทางการศึกษาและการเติบโตทางหน้าที่การงาน
ในปัจจุบันบทสนาเรื่องของ cyber bully บนโลกออนไลน์ หรือ การเหยียดเชื้อชาติ เพศ มีกันมากขึ้นในสังคม แต่ก็ยังมีบางคอมเมนต์บนโลกโซเชียล ที่ล้อเลียนรูปลักษณ์และใช้คำเหยียดพาดพิงถึงผู้พิการ แม้จะไม่ได้กล่าวกับตัวผู้พิการโดยตรง แต่คำพูดเหล่านี้ก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน จากกรณีตัวอย่างของการใช้คำคอนเมนต์แสดงความคิดเห็นถึง ผู้สมัคร ผู้ว่ากทม.ท่านหนึ่งที่กำลังเทรนด์ทวิตเตอร์ ที่เข้าข่าย Ableism พฤติกรรมเหยียดผู้พิการ
จะไม่ขอโทษเรื่องกล่าวหาว่าเขามองนมเพราะผู้เสียหายยืนยันว่าโดนมอง (แม้ดูจาก CCTV แล้วจะห่างไกลกับคำว่าจ้องไม่หยุดตามที่กล่าวหา) ก็ไม่เป็นไรหรอก เข้าใจได้ แต่ที่ไปด่าเขาว่าเป็นเนิร์ดเอ๋อ ควบคุมตัวเองไม่ได้ก็ควรขอโทษมั้ยอ่ะ Activist แบบ Ableism เหยียดหน้าตาท่าทางคนอื่นงี้เหรอ pic.twitter.com/QNCcHEVzyl
— Gil Kun อยากเป็นลูกคนรวย (@Gilg_kun) March 29, 2022
Ableism (เอเบิลลิสซึ่ม) คือการเลือกปฏิบัติและอคติทางสังคมต่อคนพิการหรือกีดกันในทางสังคมและหน้าที่การงาน
ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้พิการในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยและต่างประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถอดบทเรียน : คนดังก้าวพลาดบูลลี่คนอื่น กลั่นแกล้งใคร มีผลสะท้อนเสมอ!
ไม่สิ้นหวังกับคำบูลลี่! แอนชิลี กับแนวคิดสร้างพลังบวกฟื้นฟูจิตใจ
เขื่อน เคโอติก เผยโดนบูลลี่หนักตั้งแต่เป็นนักร้อง เป็นบาดแผลลึกในใจ
โดยรูปแบบการเหยียดจะเป็นการใช้คำพูด คอมเมนต์บนออนไลน์ รวมถึงการไม่ออกแบบการใช้ชีวิตเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการ เช่น การออกแบบอาคารสถานที่ที่ไม่รองรับผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย หรือ ร้ายแรงถึงการใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
ด้วยจากสาเหตุที่คนปกติทั่วไปมองว่า ความพิการ หรือ คนพิการ มีความสามารถด้อยกว่าตัวเองหรือคนปกติ จึงใช้คำพูดในเชิง Ableist Language คือการเอาลักษณะความพิการทางร่างกาย หรืออาการป่วยทางจิต มาใช้ในแง่ลบหรือเป็นคำต่อว่า ล้อเลียน บุคคลทั่วไป เช่น คำว่า "ไบโพลาร์" "เป็นบ้า" "เอ๋อ" "ปัญญาอ่อน" ซึ่งเป็นคำที่อ่อนไหวสำหรับผู้มีอาการจิตเวช ที่ประสบสภาวะนั้นอยู่ กลายเป็นคำที่ใช้กันติดปากและเคยชิน ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบต่อจิตใจของพวกเขาในระยะยาว
แม้เป็นเพียงคำพูดก็สามารถสร้างอคติและความเข้าใจผิดให้แก่คนในสังคมวงกว้างได้ ทำให้คนส่วนใหญ่มองว่าคนพิการเป็นคนที่มีความสามารถด้อยกว่า จึงกีดกันการทำงานและการเข้าสังคมของพวกเขา
ซึ่ง Ableism พฤติกรรมเหยียดผู้พิการ กีดกัน แบ่งแยก นั้นมีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
เราที่มีความปกติจะหลีกเลี่ยง Ableism พฤติกรรมเหยียดผู้พิการ หรือกีดกันนี้ได้อย่างไรบ้าง
ซึ่งจากภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่อง Audible ที่ฉายทาง Netfilx บอกเล่าเรื่องราวของทีมกีฬาอเมริกันฟุตบอล โรงเรียนโสตศึกษาของแมริแลนด์ ที่เป็นแชมป์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ติดต่อกันหลายสมัย พวกเขาสามารถต่อสู้จนเอาชนะบนสนามแข่งขันเดียวกันกับคนหูปกติได้อย่างทัดเทียมไม่แพ้กัน ซึ่งต้องใช้ความพยายามมากกว่าในการชดเชยความสามารถในการได้ยิน แต่ก็มีประสาทสัมผัสส่วนอื่นเติมเต็มแทน ทักษะความสามารถจึงเป็นเรื่องของการพัฒนาและโอกาสที่มอบให้กันอย่างเท่าเทียมมากกว่าตัดสินจากลักษณะภายนอกของตัวบุคคล ลดอคติและเคารพซึ่งกันและกันเพื่อให้สังคมน่าอยู่สำหรับทุกคน
คลิปภาพยนตร์ตัวอย่าง สารคดีสั้นเรื่อง Audible