เรื่องของการบูลลี่คนอื่นๆ ล้วนแล้วแต่จะเป็นการส่งผลร้ายให้กับผู้ที่ถูกบูลลี่ หรือ ถูกกลั่นแกล้งทางสังคม อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้กระทำนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลใดๆ เพราะ เคยมีตัวอย่างให้เห็นจากคนดังๆของโลกกันมาแล้ว ที่ต้องรับ ผลกระทบจากการไปลงมือกลั่นแกล้งคนอื่น
ประเด็นการกลั่นแกล้งทางสังคม (Bully) นั้นมีมาอย่าง ช้านาน จนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม(ที่ไม่ดี) ของทั่วทุกมุมโลกในอดีต อย่างไรก็ตาม สังคมถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง และ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติของสังคม เพราะอะไรก็ตาม ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นหมายความว่า สิ่งเหล่านั้นไร้ชีวิต หรือมันได้ตายไปแล้ว และ ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ในปัจจุบัน การ "บูลลี่" หรือกลั่นแกล้งกันทางสังคมมันถูกขับเคลื่อนให้เป็นสิ่งที่ "ผิด" และสังคมยอมรับได้ไม่ได้ อีกต่อไปแล้ว และบทลงโทษดูจะมีมาตรการทางสังคมที่รับมือเรื่องพวกนี้ได้ดีขึ้นกว่าในอดีต
สำหรับ คำว่า "อดีต" เป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และเราไม่อาจไปแก้ไขอะไรได้ เพราะ อดีตก็ไม่ต่างอะไรกับสายน้ำ ที่ไม่มีวันไหลย้อนกลับ ดังนั้นทุกการกระทำ หรือทุกคำพูด เพียงแค่ 1 วินาที ผ่านไป ทุกอย่างก็กลายเป็นอดีตที่ไม่อาจแก้ไขอะไรได้อีกแล้ว เพราะมันคือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว นั่นหมายความว่า หากจะทำอะไร หรือพูดอะไรก็ตาม ยิ่งต้องคิดไตร่ตรองให้ดี เพราะบางครั้ง มันอาจกลายเป็นความผิดพลาด และตราบาปของความรู้สึกจะถูกจดจำไปจนวันสุดท้าย ... ความเสียใจจะทิ่มแทงทะแยงลึกไปตลอดกาล โดยเฉพาะ การไป กระทำการ "บูลลี่" หรือ กลั่นแกล้งทางสังคม ต่อคนอื่นๆ เพราะ สิ่งเหล่านั้น นอกจากจะทิ่มแทงเป็นบาดแผลในจิตใจของเหยื่อผู้ถูกกระทำแล้ว ในทางกลับกัน การไปกระทำ "บูลลี่" ก็จะเป็นตราบาป เป็นความรู้สึกผิด ที่หลอกหลอนคนที่กระทำใส่คนอื่นเช่นกัน ดังเช่นคนดัง เซเลบริตี้ หรือ นักกีฬา หลายๆคนที่เคย "พลาด" ไปบูลลี่ คนอื่นๆ แม้จะตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจ แต่ทุกคนต่างก็รับ ผลจากการกระทำนั้นๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไม่สิ้นหวังกับคำบูลลี่! แอนชิลี กับแนวคิดสร้างพลังบวกฟื้นฟูจิตใจ
เชสลี คริสต์ Miss USA 2019 กับสัญญาณเตือนก่อนโดดตึกเสียชีวิตกลางนิวยอร์ก
ยกตัวอย่างเช่น เคสที่ชัดเจนที่สุด นั่นคือ กรณีของ "คิมจีซู" พระเอกหนุ่มเกาหลี ที่กำลังมีผลงานออกอากาศเรื่อง River Where the Moon Rises ทางช่อง KBS ในช่วงต้นปี 2021 แต่ทว่า เขาต้องถูกปลด และต้องเปลี่ยนตัวนักแสดง หลังจาก มีเหยื่อสมัยเรียนออกมาโพสต์แฉลากไส้ คิมจีซู อย่างต่อเนื่อง ว่า เขานั้นกลั่นแกล้งเพื่อนๆในสมัยเรียน จนกระทั่ง "คิมจีซู" ถึงขั้นต้องออกมาเขียนจดหมายสำนึกผิดในสิ่งที่ตนเองกระทำ
.
ส่วนหนึ่งในข้อความ ที่คิมจีซู สำนึกผิด คือ เขายอมรับว่า "ลึกๆด้านในใจ รู้สึกผิดกับเหตุการณ์ในอดีตอยู่เสมอ และมาพร้อมกับความเสียใจ ในสิ่งที่เรียกคืนกลับมาไม่ได้ ทั้งยังรู้สึกวิตกกังวล และรู้สึกเศร้า มืดมิดในใจของผม" แต่ก็อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า การบูลลี่กันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และผลของการกระทำ แม้จะเป็นเรื่องในอดีตนมนานมา แต่มันก็ยังมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานของคิมจีซู
ขณะที่ อีกเคสหนึ่ง เป็นกรณีใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ และเป็นกรณีใหญ่ของวงการกีฬาเกาหลีใต้ เพราะการ บูลลี่เพื่อความสนุก กลับกลายเป็นว่า แลกกับความเป็นทุกข์ตลอดชีวิต , โดยเรื่องราวนี้ เป็นการกระทำในความผิดพลาดของ พี่น้องฝาแฝด อี แจ ยอง และ อี ดา ยอง สมาชิกนักวอลเลย์บอลทีมชาติเกาหลีใต้ ที่ถูก "แฉ" ว่า ในช่วงแห่งวัยเยาว์ ในสมัยมัธยมต้น เธอทั้ง 2 คน ชอบไปกลั่นแกล้งเพื่อนร่วมทีม อาทิ ด่าทอ ทำร้ายร่างกาย รีดไถ รวมถึง ปลุกปั่นให้คนอื่นรุมเกลียดบุคคลที่ ทั้ง 2 คนหมั่นไส้ ซึ่งเหยื่อการบูลลี่ของ 2 ฝาแฝด มีการเปิดเผยภายหลัง จำนวนมาก แม้ทั้ง 2 คน จะขอโทษกับการกระทำอันไร้ความรับผิดชอบในวัยเด็ก และขอยืนยันว่า เมื่อพวกเธอโตขึ้นแล้ว ก็อยากจะแก้ไขข้อผิดพลาด แต่สิ่งเหล่านั้น มันไม่อาจลบล้างใดๆได้แล้ว เธอทั้ง 2 คนสูญเสียแฟนคลับไปจำนวนมาก
.
และ แน่นอนว่า ทั้ง 2 คน แม้จะเป็นกำลังหลักของทีมวอลเลย์บอลเกาหลีใต้ แต่ด้วยความที่ การ "บูลลี่" เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ทำให้ ทั้ง 2 คน ต้องหลุดออกจากทีม ชุดที่ลุยโอลิมปิก 2020 (แข่งในปี 2021) , โดนต้นสังกัดแบน และสุดท้ายก็ต้องย้ายไป ทำมาหากินในลีกวอลเลย์บอลกรีซในขณะนี้
แม้ทั้ง 2 ฝาแฝด จะออกมาขอโทษ แต่ก็มีคนเกาหลีใต้จำนวนมากถึงแสนคน ที่ร่วมลงชื่อให้รัฐบาลสอบสวนเหตุการณ์ บูลลี่ ในอดีต เพราะดูเหมือนแค่คำ "ขอโทษ" จะไม่พอแล้ว และ สังคมเกาหลีมองว่า คู่แฝดวอลเลย์บอลคู่นี้ ควรโดนลงโทษ เพื่อไม่ให้นักกีฬา หรือ คนดังวงการอื่นๆ ทำพฤติกรรมนี้อีกในอนาคต
.
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ 2 ฝาแฝดนั้น ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากสังคมว่า "แผลที่เกิดขึ้นจากการทำร้าย มันไม่เคยจางหายไปจากเหยื่อเลย ส่วนคนแกล้ง แกล้งเสร็จแล้วก็จบๆกันไป แต่คนถูกกระทำ จะให้ลืมวันไหน ก็บอกไม่ได้ หรือบางทีอาจจะไม่มีวันลืมเลยตลอดชีวิตก็ได้
.
สำหรับ การกลั่นแกล้งทางสังคม (Bully) นั้น เป็นประเด็นอันร้อนแรงในยุคสมัยแห่งปี 2022 แต่หากย้อนไปในอดีตในยุค 90s ในวงการกีฬา โดยเฉพาะในวงการฟุตบอล ก็เคยมีเหตุการณ์ครั้
.
โดยย้อนอดีตกลับไป 27 กุมภาพันธ์ 1999 ในเกม เชลซี เปิด สแตมฟอร์ด บริดจ์ รับการมาเยือนของ ลิเวอร์พูล ก่อนเกมมันอาจจะเป็นแค่เกมธรรมดาเกมหนึ่ง แต่ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ กองหน้าลิเวอรืพูล ก็มาทำให้เกมนี้คุกรุ่น ด้วยการไปล้อเลียน แกรม เลอ โซซ์ แบ็กซ้ายเชลซี ที่เป็นเพื่อนร่วมทีมชาติอังกฤษด้วยซ้ำ ด้วยการตบไปที่บั้นท้ายของตัวเองแล้วพูดว่า "มาเลย ๆ เดี๋ยวจะให้เอาร่วมเพศ" ซึ่งถือเป็นการ ล้อเลียน หรือ บูลลี่ เลอ โซซ์ ที่มีข่าวลือว่า เขาเป็นนักเตะเกย์ หรือ LGBTQ ทั้งที่ความจริงแล้ว เลอ โซซ์ ก็แต่งงาน มีลูก แถมสมาชิกครอบครัวของเลอ โซซ์ ก็อยู่ในเกมนั้นด้วย นั่นทำให้ เลอ โซซ์ โกรธจัดเป็นฟืนเป็นไฟ ทำให้เขาปฏิเสธที่จะเล่นลูกฟรีคิก เพื่อประท้วงการกระทำของกองหน้าคู่แข่ง
อย่างไรก็ตาม แทนที่ผู้ตัดสินใจจะตักเตือน หรือลงโทษร็อบบี้ ฟาวเลอร์ กลับกัน เขากลับแจกใบเหลืองให้ เลอ โซซ์ ด้วยข้อหาเจตนาถ่วงเวลา และที่สำคัญตอนนั้นไม่มีเพื่อนร่วมทีมเชลซีแม้แต่คนเดียวที่เข้ามาช่วยปกป้อง หรือแก้ต่างให้เขา
เหตุการณ์นี้ ไม่รู้แน่ชัดว่า ภายในใจของฟาวเลอร์ กับการไปบูลลี่คนอื่นๆแบบนั้น เขาจะรู้สึกอย่างไร แต่ที่แน่ๆ เหตุการณ์นี้ สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ได้เข้ามาสอบสวนในเรื่องนี้ ก่อนจะสั่งลงโทษ เลอ โซซ์ หนึ่งนัดโทษฐานเล่นนอกเกมใส่ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ ในขณะที่ดาวยิงลิเวอร์พูล โดนแบนไป 2 นัด บวกกับ 4 นัดที่ไปแสดงท่าสูดยาเสพติดในเกม เมอร์ซีไซด์ ดาร์บี้แมตช์
และทำให้คดีดังกล่าวก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะแม้ แม้ว่าบทลงโทษจะดูน้อยนิด เมื่อเทียบกับพฤติกรรม แต่มันก็ทำให้ปัญหานี้ถูกพูดถึงในวงกว้าง ผู้คนเริ่มตระหนักว่ามันไม่ใช่เรื่องตลกอีกแล้ว ยืนยันได้จากปากคำของ เลอ โซซ์ ที่บอกว่าเขาแทบจะไม่ได้ยินเสียงล้อเลียนในเรื่องนี้จากบนอัฒจันทร์อีกเลย
.
แน่นอนว่า ก่อนกระทำการ กลั่นแกล้งทางสังคม (Bully) ต่อใครใดๆ เราทุกคนต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี...เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มันจะมีผลตามมา เสมอๆ