จากกระแสเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบ ต่อการบริหารประเทศในสถานการณ์โควิด-19 ล้มเหลว แล้วหาก บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกขึ้นมาจริงๆ ใครบ้างมีสิทธิ์ที่เป็นนายกฯ คนต่อไป
จากการสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัคซีน ระบบการรักษา การดูแลผู้ป่วย การเยียวยาทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้หลายคนคิดว่าถึงเวลาเปลี่ยนม้ากลางศึก ก่อเกิดกระแสเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก
และถ้าสมมตินะ สมมติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกขึ้นมาจริงๆ ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 แล้วใครบางล่ะที่มีโอกาสเป็นนายกฯ
1. พรรคการเมืองใดบ้าง ที่ส่งรายชื่อเข้าชิงตำแหน่งนายกฯ ได้ ?
เมื่อนายกฯ ประกาศลาออก คณะรัฐมนตรีก็จะพ้นสภาพเช่นกัน กลายเป็นนายกฯ และคณะรัฐมนตรีรักษาการ ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์เป็นนายกฯ ก็คือบุคคลที่เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคการเมือง ที่มีจำนวน ส.ส 5 % ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือประมาณ 25 คน
ซึ่งแต่ละพรรคเสนอรายชื่อได้ 3 คน และได้ยื่นไว้แล้วในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2562 โดยไม่สามารถเปลี่ยนรายชื่อใหม่ภายหลังได้ โดยพรรคการเมืองที่เข้าเงื่อนไข มี ส.ส. 5 % ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย
1.1 พรรคเพื่อไทย
1.2 พรรคพลังประชารัฐ
1.3 พรรคภูมิใจไทย
1.4 พรรคประชาธิปัตย์
1.5 พรรคอนาคตใหม่ (ถูกยุบ)
แต่จากกรณี “พรรคอนาคตใหม่” ถูกยุบ ทำให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หมดสิทธิ์ไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สาธิต ยันขอพูดความจริง แอสตร้าเซนเนก้า ส่งวัคซีนให้ช้า ปรับแผน จัดหาเพิ่ม
นายกฯ ผลตรวจโควิด รอบที่ 3 เป็นลบ-ไม่พบเชื้อ เตรียมตัวเข้าทำเนียบพรุ่งนี้!
ไทยสร้างไทย กับสมาคมทนายฯ เตรียมฟ้องบิ๊กตู่ ซื้อซิโนแวค แก้โควิดล้มเหลว
2. ผู้ที่มีสิทธิ์เป็นนายกฯ หากบิ๊กตู่ลาออก
วันนี้ สมมติว่าบิ๊กตู่ประกาศลาออก ก็จะมีผู้ที่มีสิทธิ์เข้าชิงตำแหน่ง 5 คน จาก 4 พรรคการเมือง
ส่วนพรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อบิ๊กตู่ไปแล้ว และเสนอชื่อเดียว จึงไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลอื่นได้ นอกเสียจากว่า จะเสนอชื่อบิ๊กตู่อีก นั่นก็หมายความว่า บิ๊กตู่ก็มีโอกาสรีเทิร์นกลับมาอีกครั้ง (แล้วจะลาออกทำไม ?) หากพรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อเข้าชิง
แต่ในการเลือกนายกฯ นั้น ส.ว. (บทเฉพาะกาล 5 ปี) ยังมีอำนาจร่วมโหวตด้วย ฉะนั้น ถ้านับตัวเลขกลมๆ ส.ส. 500 คน กับ ส.ว. 250 คน ก็จะมีทั้งหมด 750 คน ซึ่งผู้ที่เป็นนายกฯ คนต่อไปได้ จะได้รับเสียงโหวตเกินครึ่งของสภา
แต่ในกรณีที่ไม่มีใครได้รับเสียงโหวตเกินครึ่งของสภา ทางที่จะไปต่อได้ก็คือ “นายกฯ คนนอก”
3 นายกฯ คนนอก หรือนายกนอกบัญชี
ที่มาของนายกฯ คนนอก เริ่มต้นจาก ส.ส. กับ ส.ว. จำนวนเกินครึ่งสภา หรือประมาณ 376 คน เข้าชื่อ เพื่อขอให้มีการเสนอชื่อนายกฯ นอกบัญชี
ลำดับต่อมา รัฐธรรมนูญปี 2560 กำหนดไว้ว่า จะต้องมี ส.ส.และ ส.ว. 1 ใน 3 ของสภา ลงมติ เพื่ออนุมัติการเสนอชื่อนายกฯ นอกบัญชี
และขั้นตอนสุดท้าย ส.ส. และ ส.ว. โหวตเลือกนายกฯ ตามรายชื่อที่เสนอมา หากได้เสียงโหวตเกินครึ่งของสภา หรือประมาณ 376 คน บุคคลนั้นก็กลายเป็นนายกฯ คนใหม่ของประเทศไทยในทันที
4. สรุป ณ เวลานี้ ใครบ้างมีสิทธิ์ เป็นนายกฯ ถ้าบิ๊กตู่ ลาออก
4.1 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (โควต้าพรรคเพื่อไทย)
4.2 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (โควต้าพรรคเพื่อไทย)
4.3 ชัยเกษม นิติสิริ (โควต้าพรรคเพื่อไทย)
4.4 อนุทิน ชาญวีรกูล (โควต้าพรรคเพื่อไทย)
4.5 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (โควต้าพรรคประชาธิปัตย์)
4.6 คนนอก หรือนายกฯ นอกบัญชี
4.7 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (สามารถรีเทิร์นได้)
อ้างอิง : รัฐธรรมนูญ ปี 2560