ประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะเปิดตัวแอปพลิเคชันสวีซ่า 10 ปี ให้กับอาชีพอิสระ Digital Nomad หรือเรียกง่ายๆว่าฟรีแลนซ์ที่ ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนกันยายน เนื่องจากประเทศไทยพยายามที่จะนำทรัพยากรคนต่างประเทศที่มีศักยภาพและทักษะสูงเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศล่าสุดที่เปิดตัววีซ่าสำหรับ ‘Digital Nomad’ ซึ่งเป็นอาชีพในยุคใหม่ที่ทำงานที่ไหนก็ได้แค่มีอินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยต้องการดึงดูดผู้อยู่อาศัยประเภทนี้ให้อยู่ในประเทศในระยะยาว
แม้ว่าวีซ่าจะมุ่งเป้าไปที่อาชีพจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่พนักงานจากบริษัทต่างชาติที่ประสบความสำเร็จในอาชีพประเภทอื่นๆก็สามารถสมัครได้เช่นกัน
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวีซ่าสำหรับ ‘Digital Nomad’ จะเห็นอัตราภาษีที่ต่ำกว่าในสหรัฐอเมริกาถึง 17% สำหรับรายได้ที่มากกว่า 140,000 ดอลลาร์ (4,970,210 บาท)
ซึ่งหากการเปรียบเทียบ ผู้ที่ทำเงินได้ระหว่าง 215,950 (7,666,548 บาท) ถึง 539,900 ดอลลาร์ (19,167,259 บาท)ในสหรัฐอเมริกาจะต้องเสียภาษีในอัตรา 35% เลยทีเดียว
และ ครม.ยังประกาศลดค่าธรรมเนียมวีซ่า LTR แบบครั้งเดียวลงครึ่งหนึ่งจาก 100,000 บาท เป็น 50,000 บาท
เพื่อให้ได้รับการยอมรับเข้าสู่โปรแกรมวีซ่าสำหรับ ‘Digital Nomad' จะต้องมีเงื่อนไขข้อกำหนดดังนี้
มีรายได้อย่างน้อย $80,000 ต่อปี (ประมาณ 2,840,120 บาท) ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
มีประสบการณ์ในการทำงานห้าปีขึ้นไป
ทำงานให้กับบริษัทที่สร้างรายได้อย่างน้อย 150 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5,325,225,000 บาท) ในช่วงสามปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยกำลังอยู่ในกลุ่มประเทศต่างๆ ที่หวังจะชักจูงมืออาชีพให้เข้ามาใช้ชีวิต ทำงาน พักผ่อน และที่สำคัญกว่านั้นคือมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ในความเป็นจริง ซึ่งผู้ถือวีซ่าแต่ละรายอาจสามารถจับจ่ายใช้สอยได้กว่า 28,000 ดอลลาร์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นของประเทศไทยเป็นมูลค่ารวมกว่า 27.6 พันล้านดอลลาร์
ในการยื่นขอวีซ่า สามารถติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด หากต้องการสมัครจากภายในประเทศไทย ติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในกรุงเทพฯ ตัวแทนวีซ่าที่ผ่านการรับรองอาจสามารถช่วยสมัครวีซ่า LTR ได้