ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายที่หลายคนตั้งคำถาม แต่กลับกลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่องค์กรใหญ่ระดับโลกอย่าง Google มองว่า ทำให้ไทยเนื้อหอม น่าลงทุนด้านเทคโนโลยี จนนำไปสู่การประกาศลงทุนให้บริการ Google Cloud Region ในไทย
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ชื่อนี้หลายคนอาจตั้งคำถามว่าในโลกที่เปลี่ยนไปรวดเร็วตลอดเวลา การวางแผน 20 ปี มันดีจริง ๆ เหรอ ? ซึ่งนโยบายนะออกโดยรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ใน 6 ด้านด้วยกัน
แม้ว่ามันอาจดูเป็นดาบ 2 คม เพราะถ้าเลือกก้าวเดินผิด เราอาจะเลี้ยวลงข้างทางไป 20 ปี แต่การมียุทธศาสตร์ชาติก็กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้องค์กรต่างชาติสนใจในประเทศไทย
ล่าสุด Google Cloud ประกาศลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทย เตรียมเปิดตัว Google Cloud Region ซึ่งเป็นระบบคลาวด์สำหรับสร้างโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรต่าง ๆ เช่น ระบบธนาคาร , โทรคมนาคม และ สาธารณะสุข
เพราะปัจจุบันแทบจะมีองค์กรไม่กี่องค์กรที่ลดทุนระดับพันล้านในการซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาตั้งไว้ที่ออฟฟิศแล้วทำฐานเก็บข้อมูลของตนเองคนเดียว เพราะมันมีทั้งเรื่องจุกจิก เช่น ภัยไซเบอร์ และการดูแลระบบ จึงทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น
Google Cloud มองว่า ไทย มี 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยเนื้อหอม
ปัจจัยที่ 1 คือ พฤติกรรมของคนไทย ที่เรียกได้ว่า คนไทย 9 ใน 10 คน ใช้งานโลกดิจิทัลเป็น เศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะมีมูลค่าสูงถึง 57,000 ล้านดอลลาร์(ราว 2 ล้านล้านบาท) ซึ่งรายได้จากเศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2020 คิดเป็น 16% ของ GDP
ปัจจัยที่ 2 คือ นโยบายรัฐบาล จากการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันบนโลกดิจิทัล ถูกบรรจุลงไปใน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นั่นทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนจากบริษัทใหญ่ ๆ ด้านเทคโนโลยีทั่วโลก ขณะเดียวกัน นโยบาย Thailand 4.0 ที่จะใช้ดิจิทัลขับเคลื่อนและสร้างรายได้สูงให้แก่ประชาชน ก็มีส่วนประกอบด้วยเช่นกัน และส่วนสุดท้ายคือ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ดึงดูดการลงทุนเพิ่มมากขึ้นได้
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ตามการลงทุนครั้งนี้ Google Cloud บอกว่า จะกลายเป็นปัจจัยที่ 3 ที่ทำให้ประเทศไทยน่าลงทุนและสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
ทำไม Google Cloud มาลงทุนแล้วไทยจะแข่งขันได้กับทั่วโลก ?
ย้อนกลับมามองว่าวันนี้เราใช้แอปฯต่าง ๆ มันมีคลาวด์อยู่เบื้องหลังแทบทั้งหมด Grab , LINE , Youtube , Facebook แค่ใช้ของเจ้าไหน ซึ่งหากเรามองบริการของ Google เช่น Youtube เราใช้ครั้งแรก ไม่เคยสมัคร ไม่เคยดู พอกดดูครั้งแรก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ระบบเริ่มเรียนรู้แล้วว่าเราชอบอะไร เริ่มสุ่มคลิปได้ตรงใจเรามากขึ้น ที่เขาทำได้เพราะมีปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานอยู่บนคลาวด์นี้
ซึ่งการที่ปัญญาประดิษฐ์จะเรียนได้ดีและเร็ว คือ ใช้ข้อมูลจำนวนมากๆ แล้วที่ไหนหละที่จะเก็บข้อมูลมาก ๆ แบบนั้นได้ ? คำตอบก็คือ คลาวด์ นี่แหละ ซ฿่งหากเราใช้บริการของผู้ให้บริการ เขาก็จะมีคนดูแลระบบ ดูแลตู้เซิร์ฟเวอร์ให้ นั่นหมายความว่า องค์กรจะสามารถไปโฟกัสที่ส่วนอื่นของการบริการให้ลูกค้าประทับใจได้ เช่น ประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey)
ขณะเดียวกันเมื่อ Google เป็นองค์กรระดับโลก สิ่งที่ตามมาควือ ความปลอดภัยระดับโลกเช่นกัน นั่นหมายความว่าองค์กรไทยที่ใช้บริการระดับโลก ก็จะขยับมาตรฐานความปลอดภัยไปในระดับโลกเช่นกัน