ข้อมูลจากวิกิพีเดียอาจไม่ตรงและคาดเคลื่อนอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีนักเขียนจำนวนมากเข้าไปแก้ไขข้อมูลและบิดเบือนความจริงทั้งจากที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ Wikipedia จึงร่วมมือกับ Meta เพื่อพัฒนา AI ร่วมกันที่จะช่วยให้ข้อมูลเหล่านั้นแม่นยำขึ้น
นั่นเป็นปัญหาที่ Meta บริษัทแม่ของ Facebook คิดว่าสามารถช่วยแก้ไขได้ด้วยความช่วยเหลือของ AI ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดีย โดยตั้งเป้าไปที่ปัญหาของ Wikipedia คือมีบรรณาธิการอาสาสมัครของแพลตฟอร์มมากเกินไป ด้วยเว็บไซต์ที่เติบโตขึ้นกว่า 17,000 บทความทุกเดือน การอ้างอิงจำนวนนับไม่ถ้วนจึงไม่สมบูรณ์ ขาดหายไป หรือไม่แม่นยำเท่าที่ควร
Meta ได้พัฒนาโมเดล AI ที่จะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งอ้างอิงต่างๆ และตรวจสอบได้ว่ามีความไม่น่าเชื่อถือ หรือเก่าเกินไป และ AI สามารถช่วยแนะนำแหล่งอ้างอิงใหม่ที่น่าเชื่อถือได้ โดยจะใช้ระบบ Natural Language Understanding (NLU) ซึ่งคือการเรียนรู้และเข้าใจประโยคและคำต่างๆร่วมกับฐานข้อมูล Meta Sphere ที่มีกว่า 134 ล้านเว็บเพจ ซึ่งเป็นเหมือนสารบัญให้กับ AI เรียนรู้
ขณะนี้วิกิพีเดียยังไม่ได้เปิดอนุญาตให้ Meta ใช้ AI ในการตรวจสอบอ้างอิงอัตโนมัติ แต่ Meta ก็ยังพยายามพูดถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของข้อมูลในอนาคต หากวิกิพีเดียกับ Meta ร่วมงานกัน ก็จะช่วยแก้ปัญหาข้อมูลเท็จของเฟซบุ๊กได้ด้วย และ Meta ยังหวังว่าจะสามารถสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้เขียนวิกิพีเดีย สามารถแก้ไขและอ้างอิงผ่านระบบของ Meta ได้อย่างสะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น
หากการร่วมมือครั้งนี้สำเร็จอาจทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่เราค้นหาในอินเทอร์เน็ตหรือกูเกิล มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เพราะวิกิพีเดียก็เป็นแหล่งข้อมูลหลักของโลก เปรียบเสมือนห้องสมุดของโลกอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ และเมื่อร่วมกับ Meta ที่มีเว็บเพจเป็นจำนวนมากที่สามารถให้ AI เรียนรู้ได้ ก็จะสร้างฐานข้อมูลที่ทั้งสองแพลตฟอร์มสามารถตรวจสอบความแม่นยำได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง