เปิดวิธีเอาตัวรอดจาก ไม่ให้โดนหลอกจาก Deepfake บริษัทด้านความปลอดภัย Kaspersky แนะอย่าเชื่อทุกอย่างที่เห็นบนอินเทอร์เน็ต
ถ้าพูดถึง Deepfake เราอาจจะเคยเห็นคำนี้จากข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้เทคดนโลยีนี้ในการหลอกคน แม้จะดูปลอมจนไม่รู้จะปลอมยังไง แต่ในต่างประเทศมันบียอนด์ไปไกลมากกว่านั้น
ก่อนจะไปต่อ เรามาทำความเข้าใจเรื่อง Deepfake ก่อน
เจ้าตัว Deepfake นี้เป็นเทคโนโลยีที่ใช้การเรียนรู้ของ Ai ในการศึกษาลักษณะ ท่าทาง และ ภาษากายของคนในคลิป แล้วมาสร้างเป็นคลิปปลอม ตามที่คนสร้างต้องการ
จุดเริ่มต้นของมันเกิดจากผู้ใช้ Reddit หรือคล้าย ๆ กับเว็บไซต์พันทิพย์เวอร์ชั่นต่างชาติ ปล่อยโค๊ตคำสั่งพื้นฐานในการทำให้ Ai เรียนรู้และสร้าง Deepfake เลยทำให้คนอื่น ๆ น้ำโค๊ตนี้แหละ มาต่อยอด ทำคลิปสนุกเฮฮา กันตามภาษาชาวเน็ต
เทคโนโลยีมันก็ดูสนุกนี่หน่า ทำไมมันเป็นภัยได้หละ ? คำถามนี้ต้องตอบด้วยคลิปนี้ เป็นคุณ คุณจะเชื่อไหม ?
ใช่ครับ นี่คือคลิปปลอมที่ใช้คนดัดเสียงเป็นพระพยอม เพื่อสร้างการเรียนรู้ของ กองทุนสื่อสร้างสรรค์ นี่ไม่ใช่คลิปแรกที่มีการทำในโลกอินเทอร์เน็ต แต่ยังมีการทำแบบนี้อีกมากมาย
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา อังกฤษ และ ฮ่องกง ถูกมิจฉาชีพหลอกโดยการใช้ Ai ปลอมเป็นเสียงผู้บริหาร แล้วสั่งโอนเงินจนเสียหายมาแล้วหลายสิบล้านบาท
ขณะเดียวกันตัว Deepfake ก็ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะใบหน้า เพราะมันถูกต่อยอดไปถึงขนาดที่ว่าทำให้ภาพคนที่อยู่เฉย ๆ ก็สามารถจับมาเต้นหรือทำท่าทางต่าง ๆ ได้เลย แม้ว่าตอนนี้มันจะยังไม่เนียนนัก
ดังนั้นเราเองก็ต้องระมัดระวังในการดูเรื่องราวต่าง ๆ และอย่าเชื่อทุกอย่างในอินเทอร์เน็ตแม้ว่ามันจะดูจริง จริงสุด ๆ มันก็อาจเป็นคลิปปลอมได้
ล่าสุด Kaspersky บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ แนะนำวิธีป้องกันการถูกหลอกจาก Deepfake มาดังนี้
พอมาถึงตรงนี้มันก็ดูเหมือนว่า Deepfake ก็จะมีแต่โทษ แต่จริงๆ แล้วมันก็มีเรื่องดีของมันอยู่ เช่น การนำนักแสดงที่เสียชีวิตแล้วกลับมาสู่จอทีวี เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars Rouge One