svasdssvasds

กสทช. ลุยแก้กฎหมาย ขึ้นทะเบียน "ซิมบ็อกซ์" สกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์

กสทช. ลุยแก้กฎหมาย ขึ้นทะเบียน "ซิมบ็อกซ์" สกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์

กสทช. เดินหน้าแก้กฎหมาย ออกประกาศสกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลุยขึ้นทะเบียน “ซิมบ็อกซ์” ใครฝ่าฝืนโทษหนักจำคุกไม่เกิน 5 ปี

 

พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กสทช.ชุดใหญ่ ที่ประชุมมีมติให้นำร่างประกาศ กสทช. เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคม และสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 (ฉบับที่ 3) ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ

โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้ยกเลิกหลักเกณฑ์เดิมที่ยกเว้นให้ “เครื่องซิมบ็อกซ์” ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน / ไม่ต้องขออนุญาตให้ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้า

แต่หลังจากร่างประกาศ กสทช.ฉบับใหม่ผ่านการพิจารณา จะส่งผลให้ผู้ที่มีความประสงค์จะขอ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซิมบ็อกซ์ (SIM BOX) ที่รองรับจำนวนซิม (SIM) ตั้งแต่ 4 ซิมขึ้นไป จะต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ก่อน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบการเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรคมนาคมให้กับผู้ให้บริการ ซึ่งจะส่งผลเป็นการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ต่อไป

พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการ กสทช.
 

สรุปผลประชุมบอร์ด กสทช.

  • ออกประกาศให้การนำเข้าซิมบ็อกซ์ และใช้ซิมบ็อกซ์ ต้องขออนุญาตก่อน เพื่อให้รู้ใครนำเข้า และใครนำไปใช้ หรือจำหน่ายต่อไปที่ใคร
  • กสทช.จะเก็บ “อีมี่” ประจำเครื่องซิมบ็อกซ์เอาไว้ทั้งหมด
  • ซิมบ็อกซ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน จะไม่สามารถสื่อสารกับเครือข่ายโทรศัทพ์และอินเทอร์เน็ตได้ พูดง่ายๆ คือ ซิมบ็อกซ์ที่นำเข้ามาแบบผิดกฎหมาย จะใช้การไม่ได้เลย
  • แนวทางนี้คือการนำซิมบ็อกซ์ใต้ดินขึ้นมาบนดิน ซึ่งที่ผ่านมาซิมบ็อกซ์เหล่านี้ถูกใช้ในขบวนการคอลเซ็นเตอร์เป็นหลัก
  • เมื่อมีการขออนุญาตนำเข้า และแจ้งยืนยันตัวผู้ใช้ ผู้ครอบครอง เหมือนซิมการ์ด กสทช.ก็จะรู้ว่าใครเป็นเจ้าของ และใช้ที่ไหน ใช้ทำอะไร หากถูกนำไปใช้ในการกระทำผิด เจ้าของหรือผู้มีชื่อเป็นเจ้าของจะต้องรับผิดชอบ

หากไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะเป็นความผิดตามมาตรา 6 วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

เรื่องนี้ได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เร่งนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ แล้วนำเสนอ กสทช. อีกครั้งเพื่อให้มีผลบังคับใช้ให้เร็วที่สุด เพื่อปิดโอกาสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่จะนำซิมบ็อกซ์ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญไปใช้โทรศัพท์หลอกลวงประชาชน

แฉ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ย้ายฐานไปแอฟริกา-อเมริกาใต้

หลังรัฐบาลมีมาตรการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์อย่างเด็ดขาด ปรากฏว่าสถิติการหลอกลวงประชาชนลดลงต่ำสุดในเดือน ก.พ.68 แต่ขณะนี้เริ่มขยับขึ้นเล็กน้อยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติด และอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC เพิ่งออกรายงานว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแก๊งสแกมเมอร์ อาชญากรรมเทคโนโลยี ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวชายแดนไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา ได้ย้ายฐานไปแอฟรกาและอเมริกาใต้ หลังถูกกวาดล้างอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา

สถิติการหลอกลวงประชาชนลดลงต่ำสุดในเดือน ก.พ.68

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related