svasdssvasds

แฮกเกอร์อ้าง เจาะระบบลิขสิทธิ์ เปิดใช้ Windows ฟรีทุกเวอร์ชั่น

แฮกเกอร์อ้าง เจาะระบบลิขสิทธิ์ เปิดใช้ Windows ฟรีทุกเวอร์ชั่น

แฮกเกอร์อ้าง เจาะระบบลิขสิทธิ์ เปิดใช้ Windows ฟรีทุกเวอร์ชั่น - แล้วแบบนี้ ไมโครซอฟท์อยู่ในความเสี่ยง ขนาดไหน ? 

SHORT CUT

  • กลุ่มแฮกเกอร์ Massgrave อ้างว่าเจาะระบบลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์ ทำให้สามารถเปิดใช้งาน Windows และ Office ฟรีได้หลายเวอร์ชั่น 
  • สิ่งที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้ยอดขายของไมโครซอฟท์ลดลง และเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่แคร็กจะไม่ได้รับการอัปเดตความปลอดภัย
  •  ไมโครซอฟท์อาจต้องปรับปรุงระบบเปิดใช้งานใหม่เพื่อป้องกันการโจมตีครั้งนี้

แฮกเกอร์อ้าง เจาะระบบลิขสิทธิ์ เปิดใช้ Windows ฟรีทุกเวอร์ชั่น - แล้วแบบนี้ ไมโครซอฟท์อยู่ในความเสี่ยง ขนาดไหน ? 

ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2024 ในแวดวง Tech มีข่าวเล็ดลอดออกมาในสื่อออนไลน์ โดยกลุ่มแฮกเกอร์ ที่ชื่อว่า Massgrave ได้กล่าวอ้างว่า สามารถแฮกเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยคีย์ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ได้แบบครั้งใหญ่ 

โดยการเจาะระบบครั้งนี้ สามารถแคร็ก Windows และ Office เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ Windows Vista จนถึง Windows 11 และWindows Server 2025 รวมถึงการเปิดใช้งานแบบ Volume Activation ผ่านระบบ Key Management Services ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ วิธีการแคร็กแบบใหม่นี้ ยังสามารถเปิดใช้งานลิขสิทธิ์ของโปรแกรม Extended Security Updates (ESU) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ Windows 10 สามารถเข้าถึง Patch ความปลอดภัยได้ฟรี แม้จะเลยกำหนดสิ้นสุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2025 ไปแล้ว ซึ่งไม่ต้องติดตั้งไฟล์จากภายนอกหรือแก้ไขไฟล์ระบบแต่อย่างใด

 


แฮกเกอร์อ้าง เจาะระบบลิขสิทธิ์ เปิดใช้ Windows ฟรีทุกเวอร์ชั่น

 

ผลกระทบของการแฮ็กต่อผู้ใช้และตลาดซอฟต์แวร์

การแฮ็กที่อ้างว่าสามารถเจาะระบบป้องกันการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ซอฟต์แวร์ของ Microsoft ได้เกือบทั้งหมด อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งผู้ใช้และตลาดซอฟต์แวร์ 

ผลกระทบต่อผู้ใช้ทั่วไป 

• ผู้ใช้ทั่วไปอาจเข้าถึง Windows และ Office ได้ฟรี -  หากแฮ็กนี้ใช้งานง่ายจริงตามที่อ้างไว้ ซึ่งอาจทำให้ยอดขายของ Microsoft ลดลง
• ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาจเพิ่มขึ้น -  เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มักไม่มีการอัปเดตความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้เสี่ยงต่อมัลแวร์และการโจมตีทางไซเบอร์
• อาจมีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้และเสถียรภาพ - เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อาจมีการแก้ไขหรือดัดแปลง 

ผลกระทบต่อตลาดซอฟต์แวร์ 

• Microsoft อาจสูญเสียรายได้ - หากผู้ใช้หันไปใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 
• อาจส่งผลกระทบต่อนักพัฒนาซอฟต์แวร์รายอื่น -  ที่ต้องแข่งขันกับซอฟต์แวร์ของ Microsoft ที่มีราคาถูกลงหรือฟรี
• อาจกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส - ที่เป็นทางเลือกแทนซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์

กลุ่มแฮกเกอร์ ที่ชื่อว่า Massgrave  มีโครงการของตัวเองที่ชื่อว่า Microsoft Activation Scripts (MAS) ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการแคร็กและเปิดใช้งานซอฟต์แวร์ของ Microsoft แบบผิดลิขสิทธิ์ 

อย่างไรก็ตาม หากการแฮกนี้เป็นเรื่องจริง ก็ถือว่าโครงการ MAS นั้นประสบความสำเร็จอีกแล้ว ซึ่งในทางทฤษฎี ไมโครซอฟท์สามารถแก้ไขช่องโหว่นี้ได้ แต่ดูเหมือนว่าจะต้องยกเครื่องโค้ด DRM แบบเก่า และใช้ระบบเปิดใช้งานแบบใหม่ทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างสมบูรณ์

ที่มา techspot

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related