svasdssvasds

รอชม! "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกสุดในรอบปี วันออกพรรษา 17 ต.ค.

รอชม! "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกสุดในรอบปี วันออกพรรษา 17 ต.ค.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมปรากฏการณ์ “ซูเปอร์ฟูลมูน” หรือ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืนวันที่ 17 ต.ค.67 “วันออกพรรษา” อยู่ในตำแหน่งใกล้โลก ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร เริ่มสังเกตการณ์ได้ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก

SHORT CUT

  • ปรากฏการณ์ “ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon)” หรือ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในคืนวันที่ 17 ต.ค.67
  • ดวงจันทร์ปรากฏเต็มดวงและอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร
  • เริ่มสังเกตการณ์ได้ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก จากนั้นชมความสวยงามได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมปรากฏการณ์ “ซูเปอร์ฟูลมูน” หรือ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืนวันที่ 17 ต.ค.67 “วันออกพรรษา” อยู่ในตำแหน่งใกล้โลก ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร เริ่มสังเกตการณ์ได้ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ชวนชมปรากฏการณ์ “ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon)” หรือ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในคืนวันที่ 17 ต.ค.67 “วันออกพรรษา” ดวงจันทร์ปรากฏเต็มดวงและอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร เริ่มสังเกตการณ์ได้ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก จากนั้นชมความสวยงามได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

วันออกพรรษา 17 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 18:28 น. จะเกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือ “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) ดวงจันทร์ปรากฏเต็มดวงและอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะประมาณ 357,358 กิโลเมตร ส่งผลให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย  เริ่มสังเกตการณ์ได้ช่วงค่ำ ทางทิศตะวันออก จากนั้นชมความสวยงามได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

 

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลา 27.3 วัน ส่งผลให้ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก แต่ทว่า ณ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด หรือไกลโลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงก็ได้ นักดาราศาสตร์จึงใช้ “ช่วงที่สามารถเห็นดวงจันทร์เต็มดวง” มากำหนดวันเกิดปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวกับตำแหน่งการโคจรของดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลกที่สุด

ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติในคืนใกล้โลกนั้น นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

สำหรับ NARIT เตรียมจัดสังเกตการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืนวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ชวนดูดาวชมจันทร์คืนออกพรรษา 5 จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในเดือนตุลาคม ชวนแต่งกายธีม Halloween ร่วมงาน เวลา 18:00 - 22:00 น. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย 

ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related