svasdssvasds

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์ ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

การสำรวจดวงจันทร์ในยุคโครงการ Apollo ที่ในอดีตมีเป้าหมายสำคัญคือ เป็นการแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจเพื่อแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

SHORT CUT

  • ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ? หลังจากความสำเร็จในการสำรวจดวงจันทร์ในยุคโครงการ Apollo ที่ในอดีตมีเป้าหมายสำคัญ
  • คือ เป็นการแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจเพื่อแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจด้วย
  • เป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยชาวไทย ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาเข้าใจในห้วงลึก
     

การสำรวจดวงจันทร์ในยุคโครงการ Apollo ที่ในอดีตมีเป้าหมายสำคัญคือ เป็นการแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจเพื่อแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ?

หลังจากความสำเร็จในการสำรวจดวงจันทร์ในยุคโครงการ Apollo ที่ในอดีตมีเป้าหมายสำคัญคือ เป็นการแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจเพื่อแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบันกระแสการเดินทางไปดวงจันทร์กลับมาอีกครั้ง ทำให้ได้เห็นประเทศต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในการสำรวจอวกาศกันมากขึ้น 

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ต่างก็มีแผนการมุ่งหน้าไปดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้ และนอกเหนือจากภาครัฐแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทเอกชนที่จะมีภารกิจเยือนดวงจันทร์อีกด้วย 

สาเหตุหลักมาจากการค้นพบสารประกอบน้ำบนดวงจันทร์ ในปี 2008 ทำให้ดวงจันทร์กลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้งของนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ว่า การสำรวจดวงจันทร์จะกลายเป็นการเปิดประตูสู่การสำรวจอวกาศห้วงลึกให้กับมนุษย์ นอกจากการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ แล้ว การสำรวจดวงจันทร์ยังเป็นการผลักดันศักยภาพด้านเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ การสื่อสารด้วย WiFi, GPS และการถนอมอาหาร ที่ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากเทคโนโลยีอวกาศทั้งสิ้น 

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

เรียกได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคแห่งการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะการสำรวจดวงจันทร์ที่หลากหลายประเทศกำลังจับตามอง ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจกับการสำรวจดวงจันทร์ด้วยเช่นกัน โดยได้มีการประกาศตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) 

ในปี 2021 ที่เป็นการรวมตัวของหน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศและสถาบันอุดมศึกษา รวม 14 หน่วยงาน นำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของโครงการ TSC คือการสร้าง “ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์” ด้วยเทคโนโลยีฝีมือคนไทย เพื่อบุกเบิกการวิจัยวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมขั้นสูง ด้วยการสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP 

ประเทศไทยยังได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์และระดับโลกของจีน นำโดย องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ทั้งนี้ได้ร่วมลงนามกับห้องปฏิบัติการสำรวจห้วงอวกาศลึก (Deep Space Exploration Lab หรือ DSEL) ของ CNSA ในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยบนดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station หรือ ILRS) 

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

ในปีที่แล้ว เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในโครงการสำรวจดวงจันทร์ระดับแถวหน้าอย่างฉางเอ๋อ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการนำเอาตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศจีนกับโครงการฉางเอ๋อ 5 และมีประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าในโครงการฉางเอ๋อ 7 ที่มีกำหนดจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2026

จะมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทยเดินทางไปด้วยคือ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope  เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศและศึกษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ 

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

การพัฒนาเครื่องวัดอนุภาคพลังงาน

การพัฒนาเครื่องวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศหรือรังสีคอสมิก (Cosmic Ray) เพื่อติดตามผลกระทบของสภาพอวกาศที่มีต่อโลก จะส่งผลต่ออุตสาหกรรม 5 ด้านหลักของไทยที่ได้รับผลกระทบจาก Solar activity โดยตรงคือ

  1. ระบบดาวเทียมในทุกพันธกิจ โดยเฉพาะระบบดาวเทียมนำร่องในงานด้านโลจิสติก ระบบบริการเวลาแม่นยำ
  2. อุตสาหกรรมการบินของประเทศ ในด้านวิทยุการบิน ระบบนำร่องเครื่องบินพาณิชย์
  3. อุตสาหรรมพลังงานสะอาด เนื่องจากคุณภาพของ Solar Cell ขึ้นอยู่กับอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ
  4. เสถียรภาพด้านสายส่งไฟฟ้ากำลังงานสูง การมีข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้าน Space Weather จะทำให้สามารถสร้างแบบจำลองการแจ้งเตือนภัยต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้
  5. ระบบสื่อสารดาวเทียมภาคพื้นของประเทศไทย ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้างต่อกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องจากการสื่อสารเป็นปัจจัยหลักในทุกมิติ 

สำหรับโครงการความร่วมมือไทย-จีน ด้านการสำรวจทรัพยากรของดวงจันทร์ในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาของนวัตกรรมอวกาศยานไทย เนื่องจากเป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยชาวไทย ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาด้านวิศวกรรมระบบอวกาศยานสำหรับการสำรวจอวกาศห้วงลึก 

ทำไม การสํารวจดวงจันทร์  ถึงสำคัญ ต่อ วิทยาศาสตร์ของไทย?

ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีระบบแจ้งเตือนภัยจากสภาพอวกาศแก่สาธารณะ ในกรณีที่อนุภาคพลังงานสูงผ่านสนามแม่เหล็กโลกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่อาจเกิดขึ้นจากพายุสุริยะ หรือรังสีคอสมิกจากอวกาศห้วงลึก รวมถึงทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้เอง และสามารถนำมาใช้ในโครงการความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน ในลำดับถัดไป 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related