SHORT CUT
รู้จักฟีเจอร์ Scam Alert จาก Whoscall ใช้เตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพ เป็นแพลตฟอร์มฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ ที่ช่วยแจ้งเตือนภัยกลลวงและรับมือกับการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ออนไลน์ในรูปต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีและทั่วถึง
ย้อนกลับไป ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมาการหลอกลวงออนไลน์เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยหลายแสนคน ต่อปี สถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงกรกฎาคม 2567 พบว่าความเสียหาย จากการถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์มีมูลค่ารวมเกือบ 7 หมื่นล้านบาท หรือ เฉลี่ย 78 ล้านบาทต่อวัน
โดยผลสำรวจเบื้องต้นจากรายงานของ องค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) ประจำปี 2567 ยังพบว่ามีคนไทยเพียง 55% ที่มั่นใจว่า รู้เท่าทันมิจฉาชีพ และ 89% เผยว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพ อย่างน้อยเดือนละครั้ง สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่มิจฉาชีพได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา วิธีการหลอกลวงให้มีความแนบเนียนและก้าวล้ำมากยิ่งขึ้นด้วยการสร้างข่าวเท็จ
และเว็บไซต์ปลอมอีกมากมาย นอกเหนือจากการหลอกลวงในรูปแบบเดิมผ่านการโทรเข้าและส่งข้อความสแปม โดยในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ Whoscall สามารถตรวจพบสายโทรเข้าจากมิจฉาชีพได้เกือบถึง 19 ล้านครั้ง ในขณะที่กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (MDES) สามารถปิดกับเว็ปไซต์ที่บิดเบือน/หลอกลวง จำนวนกว่า 47,000 รายการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - สิงหาคม 2567
Whoscall จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน 11 องค์กร เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) ศูนย์รวมข้อมูล เพื่อป้องกันการหลอกหลวงจากมิจฉาชีพแห่งแรกของไทยแบบรวมศูนย์ เพื่อจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ แจ้งเตือนภัยและให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้นในภาคส่วน ต่างๆ ได้รับทราบอย่างทั่วถึง
Scam Alert เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบให้เป็นฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์สำหรับประชาชน โดยแบ่งเป็น การเตือนภัยโดยตรงจากหน่วยงานภาครัฐและข้อมูลเตือนภัยกลโกงในรูปแบบต่างๆ จากพันธมิตรภาคเอกชน ที่สามารถใช้ได้บน แอปพลิเคชัน Whoscall โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งเวอร์ชั่นฟรีและพรีเมียม
“การป้องกันการหลอกลวงเริ่มต้นด้วยการได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงทีจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งนอกเหนือจาก ผู้ใช้งานจะได้ รับทราบข้อมูลการเตือนภัย ผ่านฟีเจอร์ Scam Alert แล้ว Whoscall มีฟีเจอร์อื่นๆ เพื่อเป็นเกราะ ป้องกันความปลอดภัยเพิ่มเติม ให้แก่ผู้ใช้งานทุกคน เช่น Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิก ลิงก์ฟิชชิ่ง โดยไม่ได้ตั้งใจแบบอัตโนมัติ และ ID Security (เช็กข้อมูลรั่วไหม) เพื่อช่วยตรวจสอบความปลอดภัย ของข้อมูลส่วนบุคคลจากฟีเจอร์ที่ใช้งานได้ฟรีและแบบพรีเมียม” นายแมนวู กล่าว
การเปิดตัวฟีเจอร์ Scam Alert ในครั้งนี้ นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนา แอปพลิเคชัน Whoscall ให้เป็นโซลูชันป้องกัน การหลอกลวงแบบครบวงจร เพื่อปกป้องให้ผู้ใช้งานมีความรู้เท่าทันและอยู่เหนือกลโกงของมิจฉาชีพแล้ว ยังเป็น การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมสังคมที่ปลอดภัยมั่นคง ปราศจากการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ให้เข็มแข็ง มากยิ่งขึ้น
โครงการ Scam Alert เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการ สร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการแบ่งปันความรู้และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ เอกชน เสริมความแข็งแกร่งให้ประชาชนได้รับข้อมูลและปกป้องจากภัยคุกคามของการหลอกลวงทางออนไลน์ ที่เพิ่มขึ้น
นอกเหนือจากผู้ใช้งานจะได้รับทราบข้อมูลการเตือนภัยผ่านฟีเจอร์ Scam Alert แล้ว ประชาชนก็สามารถใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ที่ภาครัฐและเอกชนพัฒนาขึ้นเป็นกลไกในการจัดการกับปัญหามิจฉาชีพ อาทิ การแจ้งความ ดำเนินคดีที่ศูนย์ AOC 1441 หรือ thaipolice.go.th หรือ ผ่านทางเว็บไซต์ตำรวจสอบสวนกลางที่ https://www.cib.go.th/e-service หรือการแจ้งเลขหมายที่เป็น มิจฉาชีพต่อ กสทช. ที่ 1200 โทรฟรี หรือแจ้งที่ผู้ให้บริการมือถือแต่ละรายและช่องทางในการสื่อสารต่างๆ ขององค์กรภาคีด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง